บทคัดย่อ
หัวข้อรายงาน รายงานการพัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ด้วยบทเรียนโปรแกรม, 170 หน้า พ.ศ.2560
ผู้รายงาน นางทัศนีย์ นามเจริญ
กกกกกกกการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อพัฒนาบทเรียนโปรแกรม วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที 6 ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อพัฒนาทักษะ กระบวนการ ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของ จำนวนนับโดยใช้บทเรียนโปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับโดยใช้บทเรียนโปรแกรม วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
กกกกกกกประชากรที่ใช้ในการที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านหนองไฮ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ประกอบไปด้วย บทเรียนโปรแกรม วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 12 เล่ม แบบทดสอบ วัดทักษะ กระบวนการ ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถาม (IOC) ตั้งแต่ 0.6 ถึง 1.00 ค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.36 ถึง 0.72 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.28 ถึง 0.56 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 แบบวัดความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับโดยใช้บทเรียนโปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดทำเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.85 ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้น ในการวิเคราะห์ข้อมูลดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป แล้วนำเสนอผลการวิเคราะห์ ในรูปตารางประกอบ ความเรียง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) ค่าเฉลี่ยประชากร (µ ) การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ของแบบทดสอบ โดยใช้สูตรดัชนีค่าความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (พฤติกรรมบ่งชี้การเรียนรู้) IOC (Index of Item Objective Congruence) การหาค่าอำนาจจำแนก (Discrimination) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้สูตรของ Brennan การหาค่า ความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ โดยใช้สูตรของ Lovett หาค่าความยากง่ายของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ โดยใช้สูตร P หาประสิทธิภาพของบทเรียน โดยใช้สูตร E1/E2 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
กกกกกกกกผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของบทเรียนโปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.43/83.13 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80 / 80 ที่ตั้งไว้
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนโปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบ ของจำนวนนับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.7440 แสดงว่า นักเรียนมีทักษะกระบวนการ ทางคณิตศาสตร์ และความสามารถในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น เท่ากับ 0.7440 หรือคิดเป็นร้อยละ 74.40
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ โดยใช้บทเรียนโปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6โดยภาพรวม อยู่ในระดับพึงพอใจมาก