ชื่อเรื่อง : รายงานผลการใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียน คำที่ไม่มีตัวสะกดในภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ผู้ศึกษา : รัชนู เยายานัง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ : ภาษาไทย
ปีการศึกษา : 2558
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
บทคัดย่อ
รายงานผลการใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียน คำที่ไม่มีตัวสะกดในภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1ในครั้งนี้ผู้ศึกษามีจุดมุ่งหมาย เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของการใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียน คำที่ไม่มีตัวสะกดในภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการอ่าน การเขียน คำที่ไม่มีตัวสะกดในภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านป่าบง ก่อนและหลังการใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียน คำที่ไม่มีตัวสะกดในภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียน คำที่ไม่มีตัวสะกดในภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านป่าบง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านป่าบง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวนทั้งสิ้น 21 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียน คำที่ไม่มีตัวสะกดในภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แผนละ 1 ชั่วโมง จำนวน 26 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่าน การเขียนคำที่ไม่มีตัวสะกด เป็นปรนัยแบบเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยการใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียน คำที่ไม่มีตัวสะกดในภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 ข้อ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ คือ พึงพอใจมากที่สุด พึงพอใจมาก พึงพอใจปานกลาง พึงพอใจน้อย และพึงพอใจน้อยที่สุด
วิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียน คำที่ไม่มีตัวสะกดในภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 E1/E2 หาค่าเฉลี่ย () และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ()เปรียบเทียบคะแนนความก้าวหน้าพัฒนาการอ่าน การเขียน ของนักเรียนแต่ละคน
ผลการศึกษาพบว่าการใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียน คำที่ไม่มีตัวสะกดในภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นทั้ง 14 กิจกรรม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 91.54/95.71 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการอ่าน การเขียน คำที่ไม่มีตัวสะกด ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านป่าบง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 โดยการใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียน คำที่ไม่มีตัวสะกดในภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 6.57 คิดเป็นร้อยละ 21.90 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 28.71 คิดเป็นร้อยละ 95.71 เมื่อเปรียบเทียบ พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนหลังเรียนมีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียน ร้อยละ 73.81 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ โดยการใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียน คำที่ไม่มีตัวสะกดในภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.76 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ