ผู้วิจัย นายอนุวัตร เจือจันทร์
สังกัด โรงเรียนเทศบาล 5 เด่นห้า สังกัดเทศบาลนครเชียงราย จังหวัดเชียงราย
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่พิมพ์ 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1). เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะเรื่อง อาหารล้านนา นำคุณค่าสู่ชีวิต ฟื้นเศรษฐกิจชุมชน เพื่อรองรับการประเมินโครงการเยาวชนสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่นสถาบันพระปกเกล้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2). เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะเรื่อง อาหารล้านนา นำคุณค่าสู่ชีวิต ฟื้นเศรษฐกิจชุมชน เพื่อรองรับการประเมินโครงการเยาวชนสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่นสถาบันพระปกเกล้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3). เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อชุดฝึกทักษะเรื่อง อาหารล้านนา นำคุณค่าสู่ชีวิต ฟื้นเศรษฐกิจชุมชน เพื่อรองรับการประเมินโครงการเยาวชนสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่นสถาบันพระปกเกล้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.2 โรงเรียนเทศบาล 5 เด่นห้า สังกัดเทศบาลนครเชียงราย จังหวัดเชียงราย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบไปด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ดังนี้ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดฝึกทักษะเรื่อง อาหารล้านนา นำคุณค่าสู่ชีวิต ฟื้นเศรษฐกิจชุมชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 แผน ชุดฝึกทักษะเรื่อง อาหารล้านนา นำคุณค่าสู่ชีวิต ฟื้นเศรษฐกิจชุมชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อชุดฝึกทักษะเรื่อง อาหารล้านนา นำคุณค่าสู่ชีวิต ฟื้นเศรษฐกิจชุมชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะเรื่อง อาหารล้านนา นำคุณค่าสู่ชีวิต ฟื้นเศรษฐกิจชุมชน เพื่อรองรับการประเมินโครงการเยาวชนสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่นสถาบันพระปกเกล้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 เล่ม พบว่า มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เล่มที่ 1 ถึงเล่มที่ 10 มีค่าเท่ากับ 84.21/86.59, 84.43/85.85, 84.43/84.88, 84.52/84.88, 84.48/85.12, 84.92/85.12, 84.66/86.83, 84.61/86.83, 84.88/86.59 และ 85.37/88.78 ตามลำดับ ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะเรื่อง อาหารล้านนา นำคุณค่าสู่ชีวิต ฟื้นเศรษฐกิจชุมชน เพื่อรองรับการประเมินโครงการเยาวชนสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่นสถาบันพระปกเกล้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะเรื่อง อาหารล้านนา นำคุณค่าสู่ชีวิต ฟื้นเศรษฐกิจชุมชน เพื่อรองรับการประเมินโครงการเยาวชนสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่นสถาบันพระปกเกล้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60, S.D. = 0.55)
โดยสรุปการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง อาหารล้านนา นำคุณค่าสู่ชีวิต ฟื้นเศรษฐกิจชุมชน เพื่อรองรับการประเมินโครงการเยาวชนสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่นสถาบันพระปกเกล้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามเกณฑ์ที่เชื่อถือและยอมรับได้ สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมเพื่อให้นักเรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้