ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) จังหวัดยะลา
ผู้ศึกษา นางกนกภรณ์ รัตนยิ่ง
ปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์ การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) จังหวัดยะลา เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยพื้นฐานเบื้องต้นที่ส่งผลต่อความสำเร็จใน การพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) 2) เพื่อออกแบบและสร้างรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบ การบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) ดังนี้ 4.1) ผลการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน 4.2) ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์/อุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน และ 4.3) ผลการประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปกครอง ที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี)
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษาและรักษาการรองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 3 คน คณะครูผู้สอน จำนวน 64 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ผู้ปกครองนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-6 จำนวน 877 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-6 จำนวน 877 คน รวมประชากรทั้งสิ้น จำนวน 1,837 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้มีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 610 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ดังนี้ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการและรักษาการ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 3 คน คณะครูผู้สอน จำนวน 56 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ผู้ปกครองนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-6 จำนวน 269 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-6 จำนวน 269 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 610 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
1) แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานเบื้องต้นในการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ จำนวน 1 ชุด
2) แบบสัมภาษณ์การบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นศูนย์ การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 1 ชุด
3) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ จำนวน 1 ชุด
4) แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ อยู่อย่างพอเพียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-6 จำนวน 1 ชุด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาปัจจัยพื้นฐานเบื้องต้นที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) โดยภาพรวม เกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจ จากความจงรักภักดี การเคารพเชื่อมั่น ศรัทธา เทิดทูนในสถาบันพระมหากษัตริย์ และการปฏิบัติตนตามรอยเบื้องพระยุคลบาท มีการยึดหลักการบริหารตามหลักการทรงงาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ การพัฒนาคนที่เป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาโรงเรียนเป็นสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) จากแรงบันดาลใจไปสู่การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบตั้งแต่การพัฒนาบุคลากร ชุมชน และปรับปรุงอาคารสถานที่ ตลอดจนสภาพแวดล้อมรอบ ๆ บริเวณโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงปัจจัยทั้งภายในและปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน
2. ผลการออกแบบและสร้างรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 การเตรียมความพร้อม
ขั้นที่ 2 การจัดระบบการเรียนรู้
ขั้นที่ 3 กิจกรรมโรงเรียนและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ขั้นที่ 4 การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ขั้นที่ 5 การสร้างเครือข่ายและขยายผล
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์ การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษามีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติ และควรมีการเพิ่มเติมรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนให้ชัดเจนที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติ ได้จริง
4. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์ การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) มีดังนี้
4.1 ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงสู่การพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) ในรูปแบบที่กำหนดขั้นตอนที่เหมาะสม ซึ่งในแต่ละขั้นตอนมีการกำหนดรายละเอียดและขอบข่ายของงานที่เหมาะกับบุคลากรทั้งในและนอกโรงเรียน เพื่อการนำสถานศึกษาพอเพียงเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี)
4.2 ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์อุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน ปีการศึกษา 2557 และปีการศึกษา 2558 พบว่า ในปีการศึกษา 2557 ผลการประเมินของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-6 มีระดับคุณภาพเฉลี่ยรวมเท่ากับ 94.85 และในปีการศึกษา 2558 มีระดับคุณภาพเฉลี่ยรวมเท่ากับ 98.40 และเมื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยของปีการศึกษา 2557 และปีการศึกษา 2558 พบว่า ระดับคุณภาพเฉลี่ยของปีการศึกษา 2558 มีระดับคุณภาพเฉลี่ยสูงกว่าปีการศึกษา 2557 โดยรวมมีระดับคุณภาพในระดับดีทั้งสองปีการศึกษา
4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครอง พบว่า มีระดับความพึงพอในในระดับมากทุกรายการ