บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
ผู้รับผิดชอบ นางสาวียะ พันธุ์ฤทธิ์
ระยะเวลาในการประเมินโครงการ เดือน ตุลาคม 2558 ถึง เดือน กันยายน 2559
วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ
1. เพื่อประเมินสภาพการดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ในด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต
2. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการส่งเสริมและ
พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
วิธีดำเนินการประเมินโครงการ
การประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ดำเนินการในระหว่างเดือน ตุลาคม 2558 ถึง เดือน กันยายน 2559 โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย บุคลากรของสถานศึกษา จำนวน 28 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน และกลุ่มเป้าหมายผู้เรียน ผู้รับบริการ จำนวน 139 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 174 คน โดย กลุ่มตัวอย่างเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยจะเลือกศึกษาจากประชากรที่มีลักษณะตรงตามวัตถุประสงค์ที่จะศึกษา จากกลุ่มประชากรทั้งหมด สรุปได้ดังนี้ ดังนี้
- ครูและบุคลากรสถานศึกษา จำนวน 28 คน
- คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน
- กลุ่มเป้าหมายผู้เรียน ผู้รับบริการของสถานศึกษา จำนวน 139 คน
การประเมินครั้งนี้มีเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน 2 ฉบับดังนี้
2.1 แบบสอบถามความคิดเห็นของครู บุคลากรผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพ
การศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษา ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้าและด้านกระบวนการ ของโครงการ
2.3 แบบสอบถามความพึงพอใจโดยสอบถามกลุ่มเป้าหมายผู้เรียนผู้รับบริการ ที่มี
ต่อด้านผลผลิตของโครงการ
โดยเก็บรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่างและนำมาวิเคราะห์ข้อมูงโดยใช้ สถิติ และ S.D. ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการประเมินโครงการ
ผลการประเมินโโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยรวม 4 ด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก ( = 4.16) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านผลผลิต มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 ด้านปัจจัย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.11 ด้านกระบวนการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.09 ด้านสภาวะแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 ตามลำดับ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ซึ่งข้อมูลผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 96 คน คิดเป็นร้อยละ 55.18 และเป็นเพศชาย จำนวน78 คน คิดเป็นร้อยละ 44.82 สภาพส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุ 41 50 ปี จำนวน 59 คน คิดเป็นร้อยละ 33.91 รองลงมามีอายุ 20 30 ปี จำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 29.32 อายุ 31 40 ปี จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 23.56 อายุ 51 ปีขึ้นไป จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 9.77 และมีอายุ ต่ำกว่า 20 ปี จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 3.44 สภาพส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา จำนวน 77 คน คิดเป็นร้อยละ 44.26 รองลงมามีระดับการศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 34.48 และระดับประถมศึกษา จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 21.26 และสรุปผลการประเมินทั้ง 4 ด้านตามรูปแบบการประเมิน CIPP Model รายละเอียดดังนี้
ด้านสภาวะแวดล้อม ( Context Evaluation ) ผลการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.03) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ข้อ เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ สถานศึกษานำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาของสถานศึกษามาใช้เพื่อจัดดำเนินโครงการได้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.17 สถานศึกษามีการประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการให้บุคลากรทราบ 4.09 สถานศึกษานำนโยบายการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาใช้วางแผนดำเนินโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.97
ด้านปัจจัย ( Input Evaluation ) ผลการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.11) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ข้อ เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ บุคลากรสถานศึกษามีความรู้ความเข้าในการดำเนินโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 ความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับหน่วยงานเครือข่ายในการดำเนินกิจกรรม และสถานที่เหมาะสมในการดำเนินกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ 4.17 งบประมาณในการดำเนินงานตามโครงการเพียงพอในการดำเนินการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.97 ตามลำดับ
ด้านกระบวนการ ( Process Evaluation ) ผลการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.09) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 7 ข้อ เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ แต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบแต่ละมาตรฐานตัวบ่งชี้ มีความเหมาะสมเพียงพอเพื่อให้เกิดการพัฒนา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 มีการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 การประเมินผลการดำเนินโครงการได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 เรียงตามลำดับ
ด้านผลผลิต ( Product Evaluation ) ผลการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.40 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ข้อใหญ่ 36 ข้อย่อย เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ ด้านครู/วิทยากรผู้ให้ความรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.79 ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 ด้านการสังเกตกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการภายหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละด้าน ประกอบด้วย ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่น ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 ตามลำดับ
-----------------------------------