ชื่อเรื่อง รายงานผลการจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรมฝึกทักษะเพื่อพัฒนา
ความพร้อมทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 2
ชื่อผู้วิจัย นางสาวดุษฎี โสภี ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
โรงเรียนเทศบาล 1 ตลาดเก่า กองการศึกษาเทศบาลเมืองกระบี่
จังหวัดกระบี่
ปีที่วิจัย 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมฝึกทักษะเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 2
ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมฝึกทักษะเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 2 ประชากรที่ใช้ในวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีจำนวน 3 ห้อง รวมนักเรียนทั้งหมด 86 คน กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนเทศบาล 1 ตลาดเก่า กองการศึกษา เทศบาลเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 ที่กำลังศึกษาอยู่ใน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมนักเรียน 25 คน ได้มาจากการสุ่มห้องเรียนด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี ดังนี้ 1. แผนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ จำนวน 20 แผน แผนละ 40 นาที 2. ชุดกิจกรรมฝึกทักษะที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ในเรื่อง การเปรียบเทียบ การจำแนก การจัดหมวดหมู่ การเรียงลำดับ และการบอกตำแหน่ง จำนวน 5 ชุด 3. แบบสังเกตพฤติกรรมในการเรียนของนักเรียน จำนวน 10 ข้อ 4. แบบทดสอบย่อย เป็นแบบทดสอบแบบเลือกตอบ วัดความพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ มี 5 ฉบับ ฉบับละ 8 ข้อ และ 5. แบบทดสอบรวม เป็นแบบทดสอบที่เป็นแบบเลือกตอบวัดตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ในเรื่อง การเปรียบเทียบ การจำแนก การจัดหมวดหมู่ การเรียงลำดับ และการบอกตำแหน่ง เป็นแบบทดสอบแบบอิงเกณฑ์ มี 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพชุดกิจกรรมฝึกทักษะเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 2 ประชากรที่ใช้ในวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ (E1/ E2) เท่ากับ 82.10/80.60 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ 80/80
2. ผลการเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมฝึกทักษะเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 2 ประชากรที่ใช้ในวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้
2.1 ผลการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเรียนของทักษะ
การเปรียบเทียบ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน ทำให้ผู้เรียนมีทักษะการเปรียบเทียบเพิ่มขึ้น
2.2 ผลการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเรียนของทักษะ
การจำแนก พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังได้รับการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนเรียน ทำให้ผู้เรียนมีทักษะการจำแนกเพิ่มขึ้น
2.3 ผลการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเรียนของทักษะ
การจัดหมวดหมู่ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนได้รับการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนเรียน ทำให้ผู้เรียนมีทักษะการจัดหมวดหมู่เพิ่มขึ้น
2.4 ผลการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเรียนของทักษะ
การเรียงลำดับ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ทำให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียงลำดับเพิ่มขึ้น
2.5 ผลการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเรียนของทักษะการบอกตำแหน่ง พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังได้รับการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนเรียน ทำให้ผู้เรียนมีทักษะการบอกตำแหน่งเพิ่มขึ้น
-