การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์ มีวัตถุประสงค์ของการประเมินเพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์ เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์ เพื่อประเมินด้านกระบวนการของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์ ในด้านต่างๆดังนี้ เพื่อประเมินด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเพื่อประเมินด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการทั้งสิ้น 322 คน ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 13 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 146 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3จำนวน 146 คน ซึ่งการเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย แบบประเมิน จำนวน 5 ฉบับ เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้แก่ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด จำนวน5ฉบับในการประเมินใช้วิธีประเมินแบบซิปป์(CIPP Model )ได้แก่ การประเมินก่อนดำเนินโครงการโดยการประเมินด้านบริบท และด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ การประเมินขณะดำเนินโครงการโดยการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ และการประเมินหลังสิ้นสุดโครงการ โดยการประเมินด้านผลผลิตของโครงการการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ประเมินโครงการ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย (x̄ )และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปผลการประเมิน และข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
ผลการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์ ในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ มีรายละเอียด สรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄= 4.23 , S.D.=.66 ) และผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการประเมินพบว่า รายการที่ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือการดำเนินการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.60 , S.D.=.51 ) ผ่านเกณฑ์การประเมิน รายการที่ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถพัฒนานักเรียนให้รู้จักใช้สติปัญญา มีความรอบรู้ รอบคอบในการคิดและการพูด อยู่ในระดับมาก ( x̄=3.90 , S.D. =.73 )
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄=3.60, S.D. =.64 )และผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการประเมินพบว่า รายการที่ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โรงเรียนมีการแต่งตั้งบุคลากรที่รับผิดชอบโครงการ อยู่ในระดับมาก (x̄ =4.35, S.D. =.58 ) และรายการที่ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ผู้ปกครองและชุมชนส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามโครงการ อยู่ในระดับมาก (x̄ =3.55, S.D. =.51 )
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ พบว่า โดยภาพรวม มีผลการประเมิน อยู่ในระดับมาก (x̄=4.06,S.D.=.74) และผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการประเมินพบว่า รายการที่ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีการจัดทำรายงานโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด( x̄=4.50, S.D.=.60) รายการประเมินที่ผลการประเมิน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและบุคคลทั่วไป อยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.70,S.D.= .80)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ พบว่า มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและด้านพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการดังนี้
4.1 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวม พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (x̄ =4.26, S.D.=.76) และผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาในแต่ด้าน พบว่า ด้านที่ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านปฏิบัติตนและดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับมาก (x̄ =4.45, S.D.=.67) ด้านที่มีผลการประเมินค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความรู้ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและตระหนักในความสำคัญของการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมากเช่นกัน (x̄ =4.02,S.D.= .86)
4.2 ผลการประเมินด้านความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด โดยภาพรวมพบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก(x-bra =4.10, S.D.=.76)และผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการประเมิน พบว่า รายการประเมินที่ผลการประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือสถานที่ที่ใช้จัดกิจกรรมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก (x̄ =4.19,S.D.=.75)และรายการประเมินที่ผลการประเมินต่ำสุดคือ มีการประเมินผลการทำกิจกรรมของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับมาก ( x̄=4.02,S.D.=.77)
ข้อเสนอแนะ
จากผลการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์ ผู้ประเมินโครงการมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. ข้อเสนอแนะเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
1.1 ควรมีการวางแผนการดำเนินงานตามโครงการไว้ในแผนปฏิบัติการของโรงเรียน เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องได้เตรียมการในระยะยาว
1.2ควรประชาสัมพันธ์กิจกรรมของโครงการ ให้ทุกฝ่ายได้รับทราบถึงความต้องการจำเป็นและการเตรียมการทั้งด้านคน งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ตลอดจนขั้นตอนกิจกรรม เพื่อจะได้เห็นความสำคัญของการพัฒนา ความต้องการจำเป็น และเตรียมการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.3 ด้านบริบทของโครงการควรมีการชี้แจงให้ครูและผู้เกี่ยวข้องทราบถึงประโยชน์
ของการดำเนินโครงการ รวมทั้งทำความเข้าใจจุดประสงค์และเป้าหมายของโครงการให้ทุกคนได้รับทราบ
1.4 ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ควรเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือต่างๆ ให้เพียงพอและตรงกับความต้องการใช้งานในโครงการ รวมทั้งการเตรียมงบประมาณ บุคลากรที่รับผิดชอบที่มีความเหมาะสมทั้งจำนวนและความรู้ความสามารถ กระจายอำนาจการดำเนินการให้ครอบคลุมภารกิจ มอบหมายภารกิจให้ชัดเจนตลอดทั้งจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานในระดับโรงเรียนให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจน
1.5 ด้านกระบวนการดำเนินงานตามโครงการควรเน้นการให้ความร่วมมือของผู้ที่
เกี่ยวข้องกับโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินโครงการในครั้งต่อไป
2.1 จากการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์ สามารถจัดทำได้ในทุกโรงเรียนตามรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนการเลือกกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่เหมาะสมกับสภาพความพร้อมของแต่ละโรงเรียน แต่ควรมีการปรับปรุงกิจกรรมการปฏิบัติให้มีความเหมาะสมกับสภาพบริบทของสถานศึกษาสภาพแวดล้อมของโรงเรียน หรือ ท้องถิ่น เลือกกิจกรรมที่เหมาะสมซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากในระยะยาวและยั่งยืน
2.2 ควรมีการประเมินความคงสภาพของการดำเนินส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนเป็นระยะและต่อเนื่องในปีการศึกษาต่อไป