ชื่อเรื่อง รายงานการสร้างและผลการใช้เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุด วัสดุสร้างสรรค์
ผู้รายงาน นัยนา ดาบแก้ว
ปีที่พิมพ์ 2558
บทคัดย่อ
การรายงานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุด วัสดุสร้างสรรค์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/ 80
2. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุด วัสดุสร้างสรรค์
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ กลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุด วัสดุสร้างสรรค์
ประชากรเป้าหมายที่ใช้ในการรายงานครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบ้านวังลาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 1 จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นเอกสารประกอบ การเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุด วัสดุสร้างสรรค์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ ซึ่งผู้รายงานได้สร้างขึ้น โดยประมวลจากทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน ค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สูตร KR-20 ของ Kuder Richardson วิเคราะห์ดัชนีความยากง่ายและอํานาจจําแนกของข้อสอบ การหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพ (E1 /E2) และค่าดัชนีประสิทธิผล ผลการศึกษา พบว่า
1. ประสิทธิภาพ(E1/ E2) เอกสารประกอบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุด วัสดุสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพของกระบวนการ/ประสิทธิภาพด้านผลลัพธ์ ร้อยละ 83.44/ 87.58 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/ 80 ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุด วัสดุสร้างสรรค์ มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุด วัสดุสร้างสรรค์อยู่ในระดับมากที่สุด (xˉ = 4.97) ผ่านเกณฑ์ความคาดหวังที่กำหนด