ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำยากโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ผู้สอน นางพณิชชา เรืองสวัสดิ์
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านหนองไฮโพธิ์ชัย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 1
ปีที่ศึกษา พ.ศ. 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการศึกษาเชิงทดลอง (One Group Pretest - Posttest Design) โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่องการอ่านและเขียนสะกดคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะเรื่องการอ่านและเขียนสะกดคำยาก 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การอ่านและเขียนสะกดคำยากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำยาก ซึ่งกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองไฮโพธิ์ชัย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 8 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านและเขียนสะกดคำยาก จำนวน 21 แผน แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การอ่านและเขียนสะกดคำยาก จำนวน 7 ชุด ชุดละ 6 แบบฝึก รวมทั้งหมด 42 แบบฝึก แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 และแบบวัดความพึงพอใจ ของนักเรียนที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและ เขียนสะกดคำยาก
ผลการศึกษา พบว่า
1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ
เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำยาก ที่ผู้สอนพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 90.12/89.58
2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ
เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำยากที่ผู้สอนพัฒนาขึ้น มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.8175 แสดงว่า นักเรียนมีความรู้หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 81.75
3. นักเรียนมีคะแนนการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำยาก อยู่ในระดับมากที่สุด
จาการศึกษาครั้งนี้ แสดงว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำยาก สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ผ่านการทดลองใช้แล้ว เป็นกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพ และส่งผลให้นักเรียนที่เรียนโดย การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำยาก มีความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน และนอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านอีกด้วย