ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
โดยใช้กลยุทธ์ SCoRE Model โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ ปีการศึกษา 2558
ผู้รายงาน : ว่าที่ร้อยตรีหญิงชนัตพร วงศ์ทิม
รองผู้อำนวยการโรงเรียนวัดพระมหาธาตุ
ปีที่รายงาน : ปีการศึกษา 2558
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ SCoRE Model โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ ปีการศึกษา 2558 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 1) คุณภาพการดำเนินงานพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 2) การมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู ผู้ปกครองในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 4) ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อการดำเนินโครงการการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ SCoRE Model โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย นักเรียน จำนวน 1,216 คน ครูผู้สอน จำนวน 86 คน ผู้ปกครอง จำนวน 1,216 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน และประชากรผู้ทรงคุณวุฒิของโรงเรียน จำนวน 10 คนเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินจำนวน 8 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 6 ฉบับ และแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 2 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.951 0.979 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินสรุปได้ ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทโครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ SCoRE Model โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ ปีการศึกษา 2558 ตามความคิดเห็นของครูและผู้ทรงคุณวุฒิโรงเรียนวัดพระมหาธาตุ โดยภาพรวม ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครูมีความคิดเห็นว่าด้านบริบท ของโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ( = 4.65, S.D. = .64) ได้คะแนน 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน และรองลงมา คือ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิโรงเรียนวัดพระมหาธาตุ มีความคิดเห็นว่าบริบทของโครงการมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม ( = 4.57,  = .76) ได้คะแนน 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าโครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ SCoRE Model โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ ปีการศึกษา 2558 ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59, S.D. = .70) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็น รายด้านพบว่า ด้านหน่วยงานที่สนับสนุนมีค่าเฉลี่ยสูงสุดในระดับมากที่สุด ( = 4.66, S.D. = .66) รองลงมา ได้แก่ ด้านวัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D. = .70) ส่วนด้านการบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55, S.D. = .71) ทุกด้านผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการโครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ SCoRE Model โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ ปีการศึกษา 2558 ตามความคิดเห็น ของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนดอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียนและผู้ปกครองมีความคิดเห็นว่า ด้านกระบวนการของโครงการมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ( = 4.57, S.D. = .73,.71) ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมา คือ กลุ่มครู มีความคิดเห็นว่า ด้านกระบวนการของโครงการมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม ( = 4.56, S.D. = .69) ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตโครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ SCoRE Model โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ ปีการศึกษา 2558 จำแนกเป็น
4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพการดำเนินงานพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ SCoRE Model โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ ปีการศึกษา 2558 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด ที่ประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครู และกลุ่มผู้ปกครองมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการดำเนินงานพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ SCoRE Model โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ ปีการศึกษา 2558 ว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ( = 4.55, S.D. = .69,.73) ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมาและมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ กลุ่มนักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการดำเนินงานพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ SCoRE Model โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ ปีการศึกษา 2558 ว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ( = 4.54, S.D. = .76) ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลผลิตเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ SCoRE Model โรงเรียนวัด พระมหาธาตุ ปีการศึกษา 2558 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกรายการที่ประเมินเมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ SCoRE Model โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ ปีการศึกษา 2558 ว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ( = 4.58, S.D. = .72) ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกรายการที่ประเมิน รองลงมา คือ กลุ่มครู และกลุ่มผู้ปกครองมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ SCoRE Model โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ ปีการศึกษา 2558 มีคุณภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม ( = 4.53, S.D. = .68, .69) ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกรายการที่ประเมิน
4.3 ผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยภาพรวม ปีการศึกษา 2558 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าปีการศึกษา 2557 เพิ่มขึ้น +0.49 และ +1.52 ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ประเด็นการประเมิน และผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2557-2558 พบว่า ค่าเฉลี่ย ปีการศึกษา 2558 สูงกว่าค่าเฉลี่ย ปีการศึกษา 2557 ทั้งชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพิ่มขึ้น +1.05 และ +4.53 ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ประเด็นการประเมิน
4.4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจในการดำเนินโครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ SCoRE Model โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ ปีการศึกษา 2558 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกรายการที่ประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครองมีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ SCoRE Model โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ ปีการศึกษา 2558 อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ( = 4.68, S.D. = .63) ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกรายการที่ประเมิน รองลงมา คือ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ SCoRE Model โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ ปีการศึกษา 2558 อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม ( = 4.57, S.D. = .59) ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกรายการที่ประเมิน ส่วนกลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.52, S.D. = .68) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกรายการที่ประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา เพื่อกำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนารายงานการประเมินโครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ SCoRE Model ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. ควรนำขั้นตอนการดำเนินงานตามกลยุทธ์ SCoRE Model ให้กับโรงเรียนอื่นๆ ที่มีพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และมีบริบทใกล้เคียงกับโรงเรียนวัดพระมหาธาตุ เพื่อประยุกต์ใช้ในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
3. ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เช่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือหน่วยงานอื่นๆ ได้รับทราบเพื่อให้การสนับสนุน และเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
ข้อเสนอแนะในการประเมินหรือวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการศึกษา ค้นคว้าและวิจัยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยใช้เทคนิคและรูปแบบอื่นๆ
2. ควรศึกษาปัจจัยหรือสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน