การศึกษาในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านอย่าง มีวิจารณญาณ ด้วยวิธีการสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย รหัสวิชา ท32102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ใช้รูปแบบ One Group Pretest Posttest Design (ธีรวุฒิ เอกะกุล. 2551 : 86) โดยวัตถุประสงค์การศึกษา 1) เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยวิธีการสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย รหัสวิชา ท32102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยวิธีการสอนแบบ SQ4R รหัสวิชา ท32102 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยวิธีการสอนแบบ SQ4R รหัสวิชา ท32102 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยวิธีการสอนแบบ SQ4R รหัสวิชา ท32102 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่5
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 22 คน ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนจังหารฐิตวิริยาประชาสรรค์ อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยจับสลากจากห้องเรียน 2 ห้องเรียน สุ่มมา 1 ห้องเรียน ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านอย่าง
มีวิจารณญาณ ด้วยวิธีการสอนแบบ SQ4R รหัสวิชา ท32102 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 7 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยวิธีการสอนแบบ SQ4R รหัสวิชา ท32102 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 7 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยวิธีการสอนแบบ SQ4R รหัสวิชา ท32102 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก
40 ข้อ จำนวน 1 ฉบับ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยวิธีการสอนแบบ SQ4R รหัสวิชา ท32102 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 20 ข้อ จำนวน 1 ฉบับ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยวิธีการสอนแบบ SQ4R รหัสวิชา
ท32102 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ของลิเคิร์ท (Likirt) ซึ่งมีตัวเลือก 4 ระดับ 20 ข้อ จำนวน 1 ฉบับ
สรุปผลการศึกษา
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
ด้วยวิธีการสอนแบบ SQ4R รหัสวิชา ท32102 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อดูความเหมาะสมของแบบฝึกทักษะ ความยากง่ายและเวลาที่ใช้ของแบบฝึกแต่ละเล่ม ได้ค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.38/84.32 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 และเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยวิธีการสอนแบบ SQ4R รหัสวิชา ท32102 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ของคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
3. ความสามารถในทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยวิธีการสอนแบบ SQ4R รหัสวิชา ท32102 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความสามารถในทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของคะแนนทดสอบหลังอ่านสูงกว่าก่อนอ่าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยวิธีการสอนแบบ SQ4R รหัสวิชา ท32102 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.73, S.D.= 0.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านกระบวนการเรียนรู้ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.84, S.D.= 0.39) รองลงมาคือ ด้านภาพ ตัวอักษรและภาษา มีความพึงพอใจอยู่ระดับมากที่สุด ( = 4.83 , S.D.= 0.35) ด้านเนื้อหาและการดำเนินเรื่อง มีความพึงพอใจอยู่ระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D.= 0.61) และด้านการวัดและประเมินผล มีความพึงพอใจอยู่ระดับมากที่สุด ( = 4.61 , S.D.= 0.61) ตามลำดับ