ชื่อเรื่อง รายงานการสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เรื่อง การดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้วิจัย นางอุดารียะ บุญญา
ปีที่ทำการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านจูดแดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 20 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งผู้ศึกษารับผิดชอบเป็นครูผู้สอน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 9 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ จำนวน 11 แผน (รวมแผนทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน 1 ชั่วโมง และแผนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน 1 ชั่วโมง) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยสูตร E1/E2 เปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนโดยการทดสอบค่าที (t - test) หาค่าดัชนีประสิทธิผลด้วยสูตร E.I. และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยหาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.24/81.33 ดังนั้น ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพผ่านเกณฑ์ 80/80 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านจูดแดง ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
3. ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.5045 หมายความว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านจูดแดง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 50.45
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านจูดแดง มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 4.18 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 2.65