ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดการเรียน
วิทยาศาสตร์ เรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช
วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 1 รหัสวิชา ว 21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้ศึกษาค้นคว้า สุนทร จันทศิลา
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนอนุบาลวัดพระโต
ปีที่วิจัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
วิทยาศาสตร์เป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ ประเทศที่พัฒนาแล้วประชาชนส่วนใหญ่มักจะมีวิธีคิดที่อยู่บนพื้นฐานวิธีการทางวิทยาศาสตร์และทรรศนะการมองโลกแบบวิทยาศาสตร์ โรงเรียนอนุบาลวัดพระโตได้ให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แต่หลายปีที่ผ่านมา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ โดยเฉพาะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะสาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต สาเหตุเกิดจาก 3 ด้านคือ ด้านครูผู้สอนที่จัดกิจกรรมโดยยังขาดเทคนิคการสอนที่หลากหลายให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมน้อย ด้านผู้เรียนที่ยังขาดความกระตือรือร้นและแรงจูงใจในการเรียน และด้านสื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ไม่สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะหรือธรรมชาติของวิชา ผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 1 รหัสวิชา ว 21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ให้สูงขึ้น
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 1 รหัสวิชา ว21101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 1 รหัสวิชา ว21101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 1 รหัสวิชา ว21101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนอนุบาลวัดพระโต อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 รวม 32 คน ซึ่งได้มาโดยเทคนิคการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มี 4 ชนิด ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน 2) ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช จำนวน 8 ชุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น เป็นข้อสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 1 ฉบับ จำนวน 30 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.410.95 และค่าความยากง่าย (P) ตั้งแต่ 0.230.76 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.85 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีข้อคำถามรวม 20 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.290.84 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิจัยคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ตรวจสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการศึกษา พบว่า
1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 1 รหัสวิชา
ว 21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 90.49/85.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2) นักเรียนที่ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 1 รหัสวิชา ว 21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 1 รหัสวิชา ว 21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ยโดยรวม 4.16 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.52 ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
สรุปได้ว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนวิทยาศาสตร์
เรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 1 รหัสวิชา ว 21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้สูงขึ้น และนักเรียนมีความพึงพอใจกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ซึ่งครูและผู้สนใจสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้เป็นอย่างดี จึงควรเผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทานต่อไป