เรื่องที่วิจัย การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยศึกษาประเพณีท้องถิ่นอีสาน
ร่วมกับการใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ชุดสืบสานประเพณีชีวีมีสุขเพื่อ
เสริมสร้างทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางจรรยา ปากหวาน
ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาลบ้านสุขสำราญ กองการศึกษา
เทศบาลเมืองวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
ปีที่วิจัย 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยศึกษาประเพณีท้องถิ่นอีสาน ร่วมกับการใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ ชุดสืบสานประเพณีชีวีมีสุข เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยศึกษาประเพณีท้องถิ่นอีสาน ร่วมกับการใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ ชุดสืบสานประเพณีชีวีมีสุข เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (3) เพื่อการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยศึกษาประเพณีท้องถิ่นอีสาน ร่วมกับการใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ ชุดสืบสานประเพณีชีวีมีสุข เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต และ (4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอน โดยศึกษาประเพณีท้องถิ่นอีสาน ร่วมกับการใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ ชุดสืบสานประเพณีชีวีมีสุข เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบ้านสุขสำราญ กองการศึกษาเทศบาลเมืองวารินชำราบ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม(Custer Random Sampling) ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม โดยการจับสลากและสุ่มได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 23 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย (1) หนังสือเสริมประสบการณ์ ชุดสืบสานประเพณีชีวีมีสุขเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 10 เรื่อง (2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ ชุดสืบสานประเพณีชีวีมีสุข เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต จำนวน 10 แผน (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ (Multiple Choice) ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสือเสริมประสบการณ์ชุดสืบสานประเพณีชีวีมีสุข เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D) และค่าสถิติทดสอบที (Dependent t-test)
สรุปผลการวิจัย
1. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยศึกษาประเพณีท้องถิ่นอีสานร่วมกับการใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ชุดสืบสานประเพณีชีวีมีสุข สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบ้านสุขสำราญ พบว่า หลังจากการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์แล้ว นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข มีความสามารถในการเรียนรู้ มีวินัย และสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ สามารถนำความรู้ที่ได้รับนั้นไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. ผลการหาประสิทธิภาพของหนังสือเสริมประสบการณ์ ชุด สืบสานประเพณีชีวีมีสุข เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ทั้ง 10 เรื่อง มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.58/86.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ชุดสืบสานประเพณีชีวีมีสุขเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อหนังสือเสริมประสบการณ์ชุดสืบสานประเพณีชีวีมีสุข เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก