ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้วิธีการท่องสูตรคูณกับครูในเวลาว่าง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนภัทรวิทยา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก (กลุ่มสาระคณิตศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย นายพิศิษฏ์ พิมลวรรธนะ
สภาพปัญหา
นักเรียนหลายคนที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาที่ต้องใช้ความคิด ความรวดเร็ว และที่สำคัญที่สุดคือความแม่นยำ หลังจากการสอนครูได้ประเมินผล โดยการให้โจทย์ตัวอย่าง และเรียกถาม-ตอบในห้องเรียน พบว่านักเรียนบางคนทำโจทย์ปัญหาผิดเพราะคูณเลขผิดบ่อยๆ คิดเป็น 30% ของนักเรียนทั้งระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ปัญหาการวิจัย
จะช่วยให้นักเรียนที่คูณเลขผิด สามารถคูณเลขได้อย่างถูกต้องได้อย่างไร
เป้าหมายการวิจัย
เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาทักษะการคูณเลขของนักเรียนที่คูณเลขผิด
วิธีการวิจัย
1. กำหนดการฝึกท่องสูตรคูณร่วมกับนักเรียน 3 ช่วงเวลา คือ ช่วงก่อนเรียน ช่วงพักกลางวัน ช่วงหลังเลิกเรียน ทุกวันติดกัน 2 สัปดาห์
2. ดำเนินการฝึกตามแผนที่วางไว้
3. จดบันทึกคะแนนให้นักเรียนทุกคนที่มาท่องสูตรคูณและสังเกตพัฒนาการที่เกิดขึ้น
4. ทดสอบนักเรียนด้วยการสุ่มแม่สูตรให้ท่อง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
5. สรุปผลการฝึกหัดนักเรียน โดยพิจารณาจากคะแนนการทดสอบ เปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้
ผลการวิจัย
ผลจากการทดสอบการท่องสูตรคูณในเวลาว่าง ตั้งแต่แม่ 2 แม่ 25 ดังตารางข้างล่าง
ชื่อนักเรียน แม่สูตรคูณสุ่ม 3 แม่ ที่ให้ท่องใน 5 นาที ค่าเฉลี่ย
ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ครั้งที่ 4
นาย สิรภพ
นาย พิทักษ์พงศ์
นางสาว นิภาธร
นางสาว ธัญชนก 4
6
2
7 5
7
5
8 5
9
9
9 7
9
10
10 5.25
7.75
6.50
8.50
เมื่อพิจารณาดูการพัฒนาทักษะการคิดเลขเร็วพบว่า นางสาวนิภาธร มีพัฒนาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากการทดสอบครั้งสุดท้ายมีคะแนนสูงถึง 10 คะแนน จากครั้งแรกที่ทำได้เพียง 2 คะแนน
ส่วนนายสิรภพมีพัฒนาการที่ดีขึ้นแต่คะแนนยังคงอยู่ในขั้นปานกลางและคะแนนสูงสุดยังไม่ได้เต็ม
ส่วนนายพิทักษ์พงศ์มีพัฒนาการที่ดีขึ้นคะแนนอยู่เกณฑ์สูงและคะแนนในครั้งสุดท้ายขาดอีกเพียงคะแนนเดียวจะสามารถทำได้เต็ม ส่วนนางสาธัญชนกเป็นคนที่มีคะแนนเริ่มต้นอยู่ในเกณฑ์สูงอยู่แล้วแต่ยังคงต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และสามารถทำได้คะแนนเต็มในครั้งสุดท้าย จากผลสรุปดังกล่าวชี้ให้เห็นว่างานวิจัยนี้มีส่วนเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ได้ แต่ยังคงต้องหาวิธีการใหม่ๆ และปรับปรุงงานวิจัยนี้ในโอกาสต่อไปเรื่อยๆ
หมายเหตุ
ตัวอย่างงานวิจัยดังกล่าวข้างต้น มีเจตนาเพื่อแสดงการแก้ปัญหาและพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพนักเรียนเป็นรายบุคคล แต่ในทางปฏิบัติควรมีการเพิ่มศักยภาพให้กับนักเรียนทุกคน เพื่อพัฒนาต่อและสามารถนำไปสู่งานวิจัยใหม่ๆ ได้ในอนาคตต่อไป