บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริม ความคิดสร้างสรรค์
ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เรื่อง แสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นายสมอง กันเทพา
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สังกัด โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่พิมพ์ 2560
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพบริบทและความต้องการจำเป็นในการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เรื่อง แสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เรื่อง แสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เรื่อง แสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง สะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เรื่อง แสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี ตำบลตระกาจ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) คู่มือการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เรื่อง แสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง .30 ถึง .80 มีค่าอำนาจจำแนก .27 ถึง .73 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 และการทดสอบค่า t
ผลการวิจัยพบว่า
1. โดยภาพรวมโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคีมีความพร้อมด้านบริบทของโรงเรียนในการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด และความคิดเห็นของนักเรียนโดยภาพรวมมีความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เรื่อง แสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สร้างขึ้น มีความเหมาะสมต่อการจัดการเรียนรู้ตามบริบทและความต้องการจำเป็นของโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี โดยผู้เชี่ยวชาญเห็นว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่ประยุกต์เอากระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม 6 ขั้นตอนมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อทดลองภาคสนาม โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง แสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง แสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (E1) เท่ากับ 83.50 และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 82.83 และเมื่อดำเนินการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า คะแนนหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เรื่อง แสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบในการจัดการเรียนการสอน ตามแผนการจัดการเรียนรู้ ทั้ง 4 แผนการจัดการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีความกระตือรือร้น มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียน มีการปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักเรียนด้วยกัน มีการร่วมมือกันในการทำงานโดยใช้กระบวนการกลุ่ม ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้สามารถปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างดีและมีคะแนนการทดสอบย่อยหลังเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 100 ในทุกกิจกรรม
4. ผลการประเมินรูปแบบ พิจารณาจากผลต่างของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการประเมินความคิดสร้างสรรค์และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม พบว่า คะแนนหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เรื่อง แสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เกิดจากการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เรื่อง แสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เรื่อง แสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด