การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปฏิบัติการคณิตศาสตร์ในการสร้างความคิดรวบยอด เรื่อง เซต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม
การเรียนรู้แบบปฏิบัติการคณิตศาสตร์ในการสร้างความคิดรวบยอด เรื่อง เซต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปฏิบัติการคณิตศาสตร์ในการสร้างความคิดรวบยอดวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กับคะแนนเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกำแพงวิทยา อำเภอละงู จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2558 จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) และใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่มโดยวิธีการจับฉลากมา 1 ห้อง เรียนจากทั้งหมด 6 ห้องเรียน มีจำนวน 251 คน ใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปฏิบัติการคณิตศาสตร์ในการสร้างความคิดรวบยอด เรื่อง เซต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 7 ชุด ชุดละ 2 ชั่วโมง รวม 14 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีความยากง่ายตั้งแต่ .26 - .80 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่
.21 - .92 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .86 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปฏิบัติการคณิตศาสตร์ในการสร้างความคิดรวบยอด
วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มี 7 ชุด แต่ละชุดประกอบด้วย คำแนะนำการใช้
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ ส่วนประกอบของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ คำชี้แจง ระยะเวลา สื่อการเรียน ผลการเรียนรู้/จุดประสงค์การเรียนรู้ ภาพประกอบคำถาม บัตรคำถาม บัตรกิจกรรม บัตรแบบฝึกหัดบัตรแบบทดสอบย่อย เกณฑ์การประเมินผล ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นเป็นชุดกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้ศึกษาและปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยมีครูคอยให้คำแนะนำ หรือชี้แนะเมื่อมีความจำเป็น ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปฏิบัติการคณิตศาสตร์ในการสร้างความคิดรวบยอดวิชาคณิตศาสตร์มีประสิทธิภาพของ เท่ากับ 96.78/88.25 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของหลังสูงกว่าคะแนนเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05