บทคัดย่อ
รายงานการสร้างและพัฒนาชุดการเรียนรู้โดยใชวัฏจักรการเรียนรู 4 MAT เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จัดทำขึ้นเพื่อรายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลตะพานหินวิทยาคาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนา
ชุดการเรียนรู้โดยใช้วัฎจักรการเรียนรู้ 4 MAT เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย กลุ่มสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการเรียนรู้โดยใช้
วัฎจักรการเรียนรู้ 4 MAT เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนเทศบาลตะพานหินวิทยาคาร จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ ชุดการเรียนรู้โดยใชวัฏจักร การเรียนรู 4 MAT เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 6 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความมีนัยสำคัญด้วยสถิติ t-test
จากการสร้างและพัฒนาชุดการเรียนรู้โดยใชวัฏจักรการเรียนรู 4 MAT เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า
1) ชุดการเรียนรู้โดยใช้วัฎจักรการเรียนรู้ 4 MAT เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทั้ง 6 ชุด มีค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 โดยมีค่าประสิทธิภาพรายชุด ดังนี้ ชุดที่ 1 มีค่า E1/E2 เท่ากับ 83.21/82.50 ชุดที่ 2 มีค่า E1/E2 เท่ากับ 85.75/83.00 ชุดที่ 3 มีค่า E1/E2 เท่ากับ 85.38/84.00 ชุดที่ 4 มีค่า E1/E2 เท่ากับ 83.25/84.00 ชุดที่ 5 มีค่า E1/E2 เท่ากับ 87.27/83.00 และชุดที่ 6 มีค่า E1/E2 เท่ากับ 84.80/84.50 2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการเรียนรู้ พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนรู้พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด