บทที่ 3
วิธีดำเนินการศึกษา
รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผู้รายงานได้ดำเนินการศึกษาโดยมีขั้นตอนและรายละเอียด
ในการดำเนินการศึกษาดังนี้
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
แบบแผนการดำเนินการ
การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ
การดำเนินการรวบรวมข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย อุทัยธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 ที่กำลังศึกษาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวนนักเรียนทั้งระดับชั้น 36 คน
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย อุทัยธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 ที่เรียนรายวิชา ค 21102 คณิตศาสตร์พื้นฐานในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 19 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย ได้มาโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม (Simple Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
1. แบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 7 เล่ม
2. แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ จำนวน 21 แผน 21 ชั่วโมง
3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นข้อสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ
4. แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนหลังการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
แบบแผนการดำเนินการศึกษา
การทดลองใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผู้รายงานใช้แบบแผนการพัฒนาแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อน-หลัง (The One Group, Pretest-Posttest Design) (พิสณุ ฟองศรี, 2550: 93) ซึ่งมีลักษณะดังนี้
T1 X T2
สัญลักษณ์ที่ใช้ในการศึกษา
T1 หมายถึง การทดสอบก่อนเรียน
X หมายถึง การจัดการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
T2 หมายถึง การทดสอบหลังเรียน
การสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือ
การสร้างแบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ ผู้รายงานได้ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและให้ คำชี้แนะในการปรับปรุงพัฒนา จำนวน 5 คน (ดังแสดงรายนามในภาคผนวก ก) โดยมีขั้นตอนและรายละเอียดในการสร้างดังนี้
1. การสร้างแบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
การสร้างแบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อประกอบการจัดการเรียนการสอน เพื่อมุ่งเน้นพัฒนาทักษะความรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์ ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ เพื่อให้นักเรียนสามารถพัฒนาและประยุกต์ใช้กับตนเองได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งเพิ่มความมั่นใจและประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของนักเรียนได้เป็นอย่างดีซึ่งผู้รายงานได้ดำเนินการสร้างและหาประสิทธิภาพดังนี้
1.1 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของกลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
1.2 ศึกษาวิธีการ หลักการ ทฤษฎีและเทคนิควิธีการในการสร้างแบบฝึกทักษะ
เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1จากเอกสารต่างๆ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางในการจัดเนื้อหาและสร้างแบบฝึกทักษะได้อย่างถูกต้อง
1.3 ศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหา จุดประสงค์ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้และตัวชี้วัดชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
1.4 วางโครงเรื่องที่จะเขียนโดยเรียบเรียงและลำดับเนื้อหาขั้นตอนในแบบฝึกทักษะ
1.5 ดำเนินการสร้างแบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทั้งหมด 7 เล่ม จำนวน 19 แผน ใช้เวลา 21 ชั่วโมง
1.6 นำแบบฝึกทักษะดำเนินการสร้างแบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พร้อมทั้งแบบประเมินความเหมาะสมของ
แบบฝึกทักษะจำนวน 30 ข้อ มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ ให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ตรวจสอบความเหมาะสมให้ครอบคลุมจุดประสงค์ และสาระการเรียนรู้ของบทเรียน ที่ใช้ ในการศึกษา โดยพิจารณาระดับความเหมาะสมจากค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยมีเกณฑ์ในการพิจารณาคือ ค่าเฉลี่ยมากกว่าหรือเท่ากับ 3.5 ขึ้นไป ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไม่เกิน 1 จึงจะถือว่าแบบฝึกทักษะมีความเหมาะสม ซึ่งมีรายละเอียดของเกณฑ์การพิจารณาคะแนนดังนี้ (พิสณุ ฟองศรี, 2550: 35)
5 หมายถึง มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
4 หมายถึง มีความเหมาะสมในระดับมาก
3 หมายถึง มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง
2 หมายถึง มีความเหมาะสมในระดับน้อย
1 หมายถึง มีความเหมาะสมในระดับน้อยที่สุด
กำหนดการแปลความหมายค่าเฉลี่ยของข้อมูลใช้เกณฑ์ของเบสท์ (Best, 1970: 204-208) ดังนี้
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.51-5.00 หมายถึง มีระดับความเหมาะสมมากที่สุด
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.51-4.50 หมายถึง มีระดับความเหมาะสมมาก
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 2.51-3.50 หมายถึง มีระดับความเหมาะสมปานกลาง
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 1.51-2.50 หมายถึง มีระดับความเหมาะสมน้อย
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 1.00-1.50 หมายถึง มีระดับความเหมาะสมน้อยที่สุด
ได้ค่าเฉลี่ยของความเหมาะสมเท่ากับ 4.17 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.12 ซึ่งอยู่ในระดับมีความเหมาะสมมาก แสดงว่าแบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความเหมาะสมในการที่จะนำไปจัดกระบวนการเรียน การสอนให้กับนักเรียน (ดังแสดงในภาคผนวก ข)
1.7 นำแบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผ่านการตรวจจากผู้เชี่ยวชาญเรียบร้อยแล้วนำไปทดลองกับนักเรียนที่ไม่ใช่ กลุ่มตัวอย่างโดยยึดตามแนวคิดของ วาโร เพ็งสวัสดิ์ (2551: 44) โดยไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย อุทัยธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 ในขั้นที่ 1 แบบเดี่ยว (1 : 1) คือ ทดลองกับนักเรียน 3 คน โดยใช้นักเรียนที่เรียนอ่อน จำนวน 1 คน ปานกลาง จำนวน 1 คน และเก่ง จำนวน 1 คน ผู้รายงานสังเกตและจดบันทึกข้อบกพร่องเพื่อนำไปปรับปรุง พบว่า สิ่งที่ควรปรับปรุงคือ คำสั่งในการปฏิบัติกิจกรรมไม่มีความชัดเจน ภาพที่ใช้ประกอบสื่อไม่มีความชัดเจน เนื้อหาในบทเรียนมีความสับสนไม่สัมพันธ์กับหัวข้อเนื้อเรื่อง กิจกรรมที่ได้กำหนดในแบบฝึกทักษะไม่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาที่ได้กำหนด ผลการประเมินแบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่ามีประสิทธิภาพ เท่ากับ 67.37/69.05 (ดังแสดงในภาคผนวก จ)
1.8 นำแบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ปรับปรุงแก้ไขจากการทดลองครั้งที่1 ไปทดลองกับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย อุทัยธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างใน ขั้นที่ 2 แบบกลุ่ม (1: 10) คือ ทดลองกับผู้เรียน จำนวน 9 คน ในระดับกลุ่มโดยทดลองกับนักเรียนที่มีความสามารถแตกต่างกันเป็นนักเรียนที่เรียนเก่ง จำนวน 3 คน เรียนปานกลาง จำนวน 3 คน และเรียนอ่อน จำนวน 3 คน ผู้รายงานสังเกตและ จดบันทึกข้อบกพร่องเพื่อนำไปปรับปรุง พบว่า สิ่งที่ควรปรับปรุงคือ นักเรียนใช้เวลา ในการทำกิจกรรมในแบบฝึกทักษะนานเกินไปเนื้อหาในแบบฝึกทักษะยังพบการพิมพ์คำผิดอยู่บ้างในบางส่วนสีของภาพประกอบเนื้อหาในแบบฝึกทักษะมีสีที่ไม่ชัดเจนทำให้ผู้เรียนไม่สามารถมองเห็นและแปลความหมายได้ผลการประเมินแบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่ามีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.79/78.89 (ดังแสดงในภาคผนวก จ)
1.9 นำแบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ที่ปรับปรุงแก้ไขจากการทดลองครั้งที่ 2 แล้วไปใช้กับนักเรียนที่ไม่ใช่ กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นการทดลองขั้นที่ 3 แบบภาคสนาม (1 : 100) โดยทดลองกับผู้เรียนทั้งชั้น
จำนวนไม่น้อยกว่า 30 คน โดยนำไปทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557
โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย อุทัยธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42
จำนวน 30 คน ผู้รายงานสังเกตและจดบันทึกข้อบกพร่องเพื่อนำไปปรับปรุง พบว่า ความชัดเจนของภาพประกอบ โดยเฉพาะในเรื่องสีของภาพที่ไม่มีความชัดเจน การฉีกคำ การเว้นวรรค ยังปรากฏอยู่ในแบบฝึกทักษะ เป็นบางเล่ม ผลการประเมินแบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่ามีประสิทธิภาพ เท่ากับ 78.14/80.48 (ดังแสดงในภาคผนวก จ)
1.10 นำแบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้ปรับปรุงด้านการจัดพิมพ์เรียบร้อยแล้ว ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย อุทัยธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 ที่เรียนรายวิชา ค 21102 คณิตศาสตร์พื้นฐานในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 19 คนต่อไป
2. แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
การสร้างคู่มือการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผู้รายงานได้ดำเนินการ ดังนี้
2.1 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1และแนวทางการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง
2.2 จัดทำโครงสร้างของแผนการจัดการเรียนรู้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามระยะเวลาที่กำหนด จำนวนรวม 21 ชั่วโมง
โดยผู้รายงานได้กำหนดโครงสร้างของแผนการจัดการเรียนรู้ดังนี้
แผนที่ ชื่อแผนการสอน เวลา / ชม.
1 ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน 1
2 ค่าประจำหลักของทศนิยม 1
3 การเปรียบเทียบทศนิยม 1
4 การบวกทศนิยม 1
5 การบวกและการลบทศนิยม 1
6 โจทย์ปัญหาการบวกและการลบทศนิยม 1
7 การคูณทศนิยม 1
8 การหารทศนิยม 1
9 โจทย์ปัญหาการคูณและการหารทศนิยม 1
10 เศษส่วน 1
11 การเปรียบเทียบเศษส่วน 1 1
12
13 การเปรียบเทียบเศษส่วน 2
การบวกเศษส่วน 1
1
14 การลบเศษส่วน 1
15 โจทย์ปัญหาการบวกและการลบเศษส่วน 1
16 การคูณเศษส่วน 1
17 การหารเศษส่วน 1
18 โจทย์ปัญหาการคูณและการหารเศษส่วน 1
19 ความสัมพันธ์ระหว่างทศนิยมและเศษส่วน 1 1
20 ความสัมพันธ์ระหว่างทศนิยมและเศษส่วน 2 1
21 ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน 1
รวม 21
2.3 นำแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ตรวจสอบความถูกต้อง
2.4 ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญจนสมบูรณ์แล้วจัดทำเป็นรูปเล่ม เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย อุทัยธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 ที่เรียนรายวิชา ค 21102 คณิตศาสตร์พื้นฐานในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 19 คนต่อไป
3. การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3.1 ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเอกสาร ที่เกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลศึกษา
3.2 วิเคราะห์จุดประสงค์และเนื้อหาของศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ใน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
3.3 สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก
ให้ครอบคลุมจุดประสงค์และเนื้อหาของบทเรียนที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 40 ข้อโดยตอบถูกให้ 1 คะแนน ตอบผิดให้ 0 คะแนน
3.4 นำแบบทดสอบที่สร้างขึ้นเป็นข้อสอบแบบปรนัย จำนวน 40 ข้อให้ผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) และพิจารณาข้อสอบที่ใช้ได้โดยมีค่า IOC มากกว่าหรือเท่ากับ 0.6 จึงถือว่าข้อสอบข้อนั้นใช้ได้ (เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย อ้างถึงใน ยุทธ ไกยวรรณ์, 2553: 181) โดยได้คัดเลือกข้อสอบที่ผ่านเกณฑ์ค่า IOC จำนวน 30 ข้อ แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขด้านภาษาในคำถามและตัวเลือกตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
3.5 นำแบบทดสอบไปทดสอบกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย อุทัยธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 จำนวน 30 คน เพื่อหาค่าความยากง่าย (difficulty) ค่าอำนาจจำแนก (discrimination) โดยได้ค่าความเที่ยงทั้งฉบับ เท่ากับ .8431 ค่าความยากรายข้ออยู่ระหว่าง .33 - .73 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .20 - .88
3.6 จัดพิมพ์แบบทดสอบให้มีจำนวนเพียงพอสำหรับใช้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทั้งก่อนเรียนและหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย อุทัยธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 ที่เรียนรายวิชา ค 21102 คณิตศาสตร์พื้นฐานในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 19 คนต่อไป
4. การสร้างแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้
แบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
4.1 ศึกษาวิธีการสร้างแบบประเมินความพึงพอใจสำหรับนักเรียน โดยพิจารณา การสร้างแบบสอบถามให้สอดคล้องกับ ช่วงวัย และระดับชั้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
4.2 สร้างแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้
แบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
จำนวน 10 ข้อ แต่ละข้อกำหนดน้ำหนักในการให้คะแนนตามเกณฑ์ 5 ระดับ ตามวิธีของลิเคอร์ต (Likert) จากหนังสือคู่มือการสร้างเครื่องมือวัดคุณลักษณะด้านจิตพิสัยของสำนักทดสอบทางการศึกษา (กระทรวงศึกษาธิการ, 2552: 47-77) ดังนี้
5 หมายถึง พึงพอใจมากที่สุด
4 หมายถึง พึงพอใจมาก
3 หมายถึง พึงพอใจปานกลาง
2 หมายถึง พึงพอใจน้อย
1 หมายถึง พึงพอใจน้อยที่สุด
กำหนดการแปลความหมายค่าเฉลี่ยของข้อมูลใช้เกณฑ์ของเบสท์ (Best, 1970: 204-208) ดังนี้
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.51-5.00 หมายถึง มีความพึงพอใจมากที่สุด
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.51-4.50 หมายถึง มีความพึงพอใจมาก
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 2.51-3.50 หมายถึง มีความพึงพอใจปานกลาง
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 1.51-2.50 หมายถึง มีความพึงพอใจน้อย
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 1.00-1.50 หมายถึง มีความพึงพอใจน้อยที่สุด
4.3 นำแบบสอบถามไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสม โดยพิจารณา ผลการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ โดยพิจารณาค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบสอบถาม (IOC) ของแต่ละข้อให้ได้ค่า IOC ระหว่าง 0.60 - 1.00
4.4 ปรับปรุงแบบสอบถามตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญนำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย อุทัยธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 จำนวน 30 คน เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงหรือค่าความเชื่อมั่น (reliability) ตามสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราค ด้วยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .7836 (ดังแสดงในภาคผนวก ง)
4.5 ตรวจสอบความเรียบร้อยถูกต้องอีกครั้ง นำไปจัดพิมพ์ แล้วจึงนำไปใช้ใน การประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย อุทัยธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 ที่เรียนรายวิชา ค 21102 คณิตศาสตร์พื้นฐานในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 19 คน
การดำเนินการรวบรวมข้อมูล
ผู้รายงานดำเนินการเลือกกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย อุทัยธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 ที่เรียนรายวิชา ค 21102 คณิตศาสตร์พื้นฐานในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 19 คน โดยการสุ่มอย่างง่ายจากการใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม (Simple Random Sampling) ซึ่งได้ดำเนินการศึกษาตามขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นเตรียมการ
ผู้รายงานได้เตรียมนักเรียนก่อนการทดลองโดยครูแจ้งขั้นตอน การดำเนินการให้คำแนะนำการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และชี้แจงเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนเข้าใจ
2. ขั้นดำเนินการ
2.1 ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
แบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น จำนวน 30 ข้อ
2.2 ดำเนินการสอนโดยผู้รายงานตามเนื้อหาของแบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ตามแผนการจัดการเรียนรู้และ
ให้นักเรียนทำกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ในแต่ละชุด
2.3 เมื่อสิ้นสุดการสอนตามกำหนดแล้วทำการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียนโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน จำนวน 30 ข้อ ผู้รายงานทำการตรวจผลการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน แล้วนำมาวิเคราะห์โดยใช้วิธีการทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐาน
ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2.4 ให้นักเรียนตอบแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผู้รายงานเก็บรวบรวมแล้วนำไปวิเคราะห์ทางสถิติ
การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้รายงานดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล ดังต่อไปนี้
1. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ตามเกณฑ์ 75/75 โดยใช้ค่าเฉลี่ยและร้อยละ
2. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานการศึกษา โดยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย โดยใช้สูตร t-test Dependent
3. วิเคราะห์แบบสอบถามวัดความพึงพอใจ โดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้รายงานได้ใช้สถิติเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล ดังต่อไปนี้
1. สถิติที่ใช้ในการประเมินความเหมาะสมของแบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ (ไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2553: 262)
1.1 การหาค่าเฉลี่ย
แทน ค่าเฉลี่ยของคะแนน
แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
N แทน จำนวนผู้ตอบแบบประเมิน/แบบสอบถาม
แทน ความถี่
แทน คะแนนที่กำหนด
1.2 การหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของแต่ละข้อ โดยใช้สูตรของ ยุทธ ไกยวรรณ์ (2553: 119) ดังนี้
แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
แทน จำนวนความถี่
แทน ค่าคะแนน
แทน จำนวนผู้ตอบแทนสอบถามทั้งหมด
2. สถิติที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะตามเกณฑ์ 75/75
75 ตัวแรก หมายถึง คะแนนเฉลี่ยรวมของนักเรียนจากการทำกิจกรรมระหว่างเรียน ในแต่ละเรื่องของแบบฝึกทักษะโดยคิดเป็นร้อยละ
75 ตัวหลัง หมายถึง คะแนนเฉลี่ยรวมของนักเรียนจากการทำแบบทดสอบหลังเรียน
โดยคิดเป็นร้อยละโดยใช้สูตรของ ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2556: 25) ดังต่อไปนี้
75 ตัวแรก การหาคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนจากการทำกิจกรรมระหว่างเรียน
=
แทน ประสิทธิภาพของกระบวนการ
แทน คะแนนรวมจากการทำกิจกรรมระหว่างเรียน
แทน จำนวนนักเรียน
แทน คะแนนเต็มทั้งหมดของการทำกิจกรรมระหว่างเรียน
75 ตัวหลัง การหาคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนจากแบบทดสอบหลังเรียน
=
แทน ประสิทธิภาพของผลลัพธ์
แทน คะแนนรวมจากแบบทดสอบหลังเรียน
แทน จำนวนนักเรียน
แทน คะแนนเต็มของแบบทดสอบหลังเรียน
3. สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
3.1 หาค่าความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย อ้างถึงใน ยุทธ ไกยวรรณ์, 2553: 181)
=
แทน ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์กับข้อสอบ
 แทน ผลรวมของคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
แทน จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
3.2 ค่าความยากง่าย (Difficulty) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
โดยใช้ สูตรของ บุญชม ศรีสะอาด (2553: 90)
=
แทน ค่าความยาก
แทน ผลรวมคะแนนรายข้อ
แทน จำนวนผู้เข้าสอบ
3.3 ค่าอำนาจจำแนก (Discrimination) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สูตรของ บุญชม ศรีสะอาด (2553: 96)
=
แทน ค่าอำนาจจำแนก
แทน จำนวนนักเรียนที่ตอบถูกในกลุ่มเก่ง
แทน จำนวนนักเรียนที่ตอบถูกในกลุ่มอ่อน
แทน จำนวนนักเรียนในกลุ่มเก่งและกลุ่มอ่อน
3.4 สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานของการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการทดสอบสมมุติฐานของการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใช้การทดสอบค่าที (t-test dependent) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป