ชื่อเรื่อง การสร้างและพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้ศึกษา กันติชา ปิดตาทะโน
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านกุดน้ำใส อำเภอนาเชือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
มหาสารคาม เขต ๒
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านคำที่สะกดไม่ตรงมาตราและคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้น และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น ประชากร นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่11 อำเภอนาเชือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มหาสารคามเขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่ 1 เพื่อการทดลองใช้นวัตกรรม จำนวน 30 คน คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 11 อำเภอนาเชือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มหาสารคามเขต 2 ดังนี้ โรงเรียนบ้านห้วยหิน จำนวน 20 คน โรงเรียนบ้านหัวช้าง จำนวน 10 คน ได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) กลุ่มตัวอย่างที่ 2 เพื่อการใช้นวัตกรรม คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านกุดน้ำใส จำนวน 9 คน ซึ่งเป็นชั้นที่ผู้ศึกษาสอนเอง ได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามี 4 ชนิด คือ หนังสือส่งเสริมการอ่าน จำนวน 7 เล่ม เล่มที่ 1 คำที่สะกดไม่ตรงมาตรา แม่ กน เรื่อง ชวนน้องดูฟุตบอล เล่มที่ 2 คำที่สะกดไม่ตรงมาตรา แม่ กก เรื่อง รู้จักพอเพียงรู้จักความสุข เล่มที่ 3 คำที่สะกดไม่ตรงมาตรา แม่ กด เรื่อง ไปเที่ยวบ้านญาติ เล่มที่ 4 คำที่สะกดไม่ตรงมาตรา แม่ กบ เรื่อง ลุงสุภาพพากราบพระ เล่มที่ 5 เรื่อง ครอบครัวหรรษา
(ร ควบกล้ำ) เล่มที่ 6 เรื่อง กลิ่นกลางเด็กดี (ล ควบกล้ำ) เล่มที่ 7 เรื่อง ทองกวาวชมไพร (ว ควบกล้ำ) แบบประเมินคุณภาพหนังสือส่งเสริมการอ่าน สำหรับผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือวัดผลและประเมินผลการใช้นวัตกรรม คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เครื่องมือวัดและประเมินผลนวัตกรรม คือ แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน
การศึกษาพบว่า
1. หนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.85 / 81.10 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ =2.77) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ รูปภาพ เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง ,
เนื้อเรื่องสนุก ชวนติดตาม , เนื้อหาไม่ยาก ไม่ซับซ้อน อ่านเข้าใจง่าย , นักเรียนได้รับประโยชน์จากเรื่องที่อ่าน ( x̄=3.00) รองลงมาได้แก่ ขนาด รูปเล่ม ตัวอักษร เหมาะสม สะดวกต่อการนำไปใช้
(x̄ =2.77) และให้ความรู้ความเข้าใจในบทเรียนยิ่งขึ้น , นักเรียนสนุกสนาน เพลิดเพลินกับเรื่องที่อ่าน ( x̄=2.66)