ชื่อรายงาน การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ จากการอ่านมากรู้มาก สำหรับนักเรียน
ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
พระชนมายุ 60 พรรษา โรงเรียนไกรในวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก
ชื่อผู้รายงาน นางอฑิภา วรากรเจริญ
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ จากการอ่านมากรู้มาก สำหรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พระชนมายุ 60 พรรษา โรงเรียนไกรในวิทยาคม รัชมังคลาภิเษกมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบท (Context) ด้านความเหมาะสมของหลักการเหตุผล / วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการ 2) ประเมินความพร้อมด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) โครงการ 3) ประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process) ด้านการปฏิบัติงานตามขั้นตอนต่างๆ ในการดำเนินงาน ตลอดจนปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานตามโครงการ 4) ประเมินผลสัมฤทธิ์ (Product) ของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ จากการอ่านมากรู้มาก สำหรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พระชนมายุ 60 พรรษา โรงเรียนไกรในวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก
ประชากรที่ใช้ในการประเมินเป็นบุคลากรในโรงเรียนไกรในวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก
ปีการศึกษา 2558 ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนไกรในวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling ) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ประกอบด้วย ผู้บริหารโครงการ จำนวน 6 คน ครูผู้สอน จำนวน 22 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 215 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินโครงการทั้ง 4 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 แบบสอบถามประเมินบริบทสภาพแวดล้อมของโครงการ(C) ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความสอดคล้องระหว่าง หลักการเหตุผล/วัตถุประสงค์/เป้าหมาย/ ของโครงการกับนโยบายโรงเรียน และความต้องการของนักเรียนด้านการส่งเสริมการอ่าน และฉบับ ที่ 2 สอบถามความคาดหวังและความเป็นไปได้ของเป้าหมายของโครงการ ตอนที่ 2 แบบประเมินความพร้อมด้านปัจจัย (I) ฉบับที่ 1 ประเมินความพร้อมด้านปัจจัยหรือทรัพยากรที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการ ตอนที่ 3 แบบประเมินกระบวนการของโครงการ(P) ฉบับที่ 2 ประเมินความเหมาะสมของการปฏิบัติงานตามโครงการขั้นเตรียมการ/ขั้นดำเนินการ และขั้นประเมินผล และ ฉบับที่ 3 แบบประเมินความเหมาะสมของการจัดกิจกรรมตามโครงการ ตอนที่ 4 ประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ(P) โดยประเมิน 3 ประเภท คือ 1) ประเมินผลสัมฤทธิ์จากการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการทั้ง 5 โครงการ โดยใช้คู่มือการดำเนินโครงการฯ 2) แบบประเมินพฤติกรรมลักษณะนิสัยรักการอ่าน 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน และครูที่มีต่อโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ จากการอ่านมากรู้มาก สำหรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พระชนมายุ 60 พรรษา โรงเรียนไกรในวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก
การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการคำนวณค่าดรรชนีความสอดคล้อง IOC ค่าเฉลี่ย( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) และค่าร้อยละ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ว่า
ตอนที่ 1 ผลการประเมินบริบทสภาพแวดล้อมของโครงการ
1. วิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่าง หลักการเหตุผล / วัตถุประสงค์ / เป้าหมาย กับนโยบายของโรงเรียน และความต้องการของนักเรียนด้านการส่งเสริมการอ่านปรากฏดังนี้
1.1 หลักการเหตุผล/วัตถุประสงค์/เป้าหมายของโครงการ มีความสอดคล้องกับนโยบายโรงเรียน และความต้องการของนักเรียนโดยค่าดรรชนีความสอดคล้องเฉลี่ยเท่ากับ 1.00 และหลักการเหตุผล / วัตถุประสงค์/เป้าหมายของโครงการ มีความสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนมีค่าดรรชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.80
1.2 วัตถุประสงค์ของโครงการเหมาะสมกับนโยบายของโรงเรียน มีค่าดรรชนีความสอดคล้องเฉลี่ยเท่ากับ 0.93 วัตถุประสงค์ของโครงการเหมาะสมกับความต้องการของนักเรียน มีค่าดรรชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00
1.3 เป้าหมายของโครงการเหมาะสมกับนโยบายของโรงเรียนมีค่าดรรชนีความสอดคล้องเฉลี่ยเท่ากับ 0.86 เป้าหมายของโครงการเหมาะสมกับความต้องการของนักเรียนมีค่าดัชนีความสอดคล้องเฉลี่ยเท่ากับ 0.93
2. วิเคราะห์ความคาดหวังและความเป็นไปได้ของเป้าหมายของโครงการ ทั้งคณะกรรมการบริหารโครงการ ครู และคณะกรรมการติดตามผล มีความคาดหวังและความเป็นไปได้ของโครงการ ดังนี้
2.1 ความคาดหวังของโครงการ ค่าเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ 3.73 มีค่าอยู่ในระดับมากที่สุด
2.2 ความเป็นไปได้ของเป้าหมายของโครงการ ค่าเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ 3.48 มีค่าอยู่ในระดับมากที่สุด
ตอนที่ 2 ผลการประเมินความพร้อมด้านปัจจัยหรือทรัพยากรของโครงการ
ผลการประเมินความพร้อมในด้านปัจจัยหรือทรัพยากรในการดำเนินงานของโครงการ ทุกเรื่องมีความพร้อม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.68 คือมีความพร้อมอยู่ในระดับ มากที่สุด ทุกรายการ
ตอนที่ 3 การประเมินกระบวนการของโครงการ
3.1 ความเหมาะสมของการปฏิบัติงานตามโครงการ มีดังนี้
3.1.1 จากผลการประเมินกระบานการของโครงการในขั้นเตรียมการมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.42 เกณฑ์อยู่ในระดับ มาก
3.1.2 จากผลการประเมินกระบานการของโครงการในขั้นดำเนินการมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.37 เกณฑ์อยู่ในระดับ มาก
3.1.3 จากผลการประเมินกระบานการของโครงการในขั้นประเมินผลมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.32 เกณฑ์อยู่ในระดับ มาก
3.2 ประเมินความเหมาะสมของการจัดกิจกรรมตามโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.57 เกณฑ์อยู่ในระดับ มากที่สุด
ตอนที่ 4 ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ ปรากฏผลดังนี้
1. ประเมินผลสัมฤทธิ์จากการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการทั้ง 5 โครงการ พบว่า
ในภาพรวม นักเรียนมีสนใจ และมีความกระตือรือร้น ร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมงานกลุ่มสำเร็จลุล่วง
ตามเป้าหมาย และมีคะแนนเฉลี่ย ในแต่ละโครงการคือ
1.1 โครงการกิจกรรมที่ 1 โครงการเรียนรู้เล่าข่าวเร้าพลัง มีคะแนนเฉลี่ย 8.16
1.2 โครงการกิจกรรมที่ 2 โครงการเรียนรู้ชื่นชมสารานุกรมไทย มีคะแนน
เฉลี่ย 8.09
1.3 โครงการกิจกรรมที่ 3 โครงการเรียนรู้นิทานพาสนุก มีคะแนนเฉลี่ย 8.05
1.4 โครงการกิจกรรมที่ 4 โครงการเรียนรู้ บทความและสารคดี มีคะแนนเฉลี่ย 8.38
1.5 โครงการกิจกรรมที่ 5 โครงการเรียนรู้ร่วมเรียนรู้สุดหรรษาพาเพื่อนอ่าน มีคะแนนเฉลี่ย 8.20
2. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมลักษณะนิสัยรักการอ่านของนักเรียนก่อนและหลัง
ดำเนินโครงการฯ พบว่า พฤติกรรมนิสัยรักการอ่านก่อนและหลังดำเนินโครงการมีความแตกต่างกัน โดยก่อนดำเนินโครงการการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านอยู่ในระดับพอใช้ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.70 ส่วนหลังดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ จากการอ่านมากรู้มาก สำหรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นฯ อยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 4.80
3. ผลการประเมินความพึงพอใจ ปรากฏผล ดังนี้
3.1 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ จากการอ่านมาก
รู้มาก สำหรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ฯโดยเฉลี่ย มีค่าเท่ากับ 4.78 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์
พึงพอใจ มากที่สุด
3.2 ครูมีความพึงพอใจต่อโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ จากการอ่านมากรู้มาก
สำหรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ฯโดยเฉลี่ย มีค่าเท่ากับ 4.80 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์
พึงพอใจ มากที่สุด