รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทักษะอาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนสองครพิทยาคม
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทักษะอาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนสองครพิทยาคม
คำสำคัญ การประเมินโครงการ/การพัฒนาแหล่งเรียนรู้/ทักษะอาชีพ/หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ชื่อผู้วิจัย นายสุเมธ พรมสีดา
ปีที่พิมพ์ พ.ศ. 2559
การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทักษะอาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนสองครพิทยาคม มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทักษะอาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนสองครพิทยาคมในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายโยงความรู้ และเพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทักษะอาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การประเมินครั้งนี้ใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model ของแดเนียล สตัฟเฟิลบีม (Daniel Stufflebeam) ได้แก่ การประเมินบริบท ประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินกระบวนการ ประเมินผลผลิต การประเมินผลกระทบ ประเมินประสิทธิผล การประเมินความยั่งยืน และการประเมินการถ่ายโยงความรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู จำนวน 18 คน นักเรียน จำนวน 140 คน และผู้ปกครอง จำนวน 140 คน ซึ่งได้มาจากสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม และแบบทดสอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินเป็นรายด้าน พบว่า โดยรวมในทุกด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน ด้านการถ่ายโยงความรู้ มีความเหมาะสมเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ในส่วนของผลการศึกษาปัญหาและแนวทางปรับปรุงโครงการ พบว่า มีปัญหาและข้อเสนอแนะในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1)ด้านบริบท พบว่า กิจกรรมตามโครงการต้องใช้เวลาและทักษะในการดำเนินงาน ไม่หลากหลายในแนวทางเลือกให้เหมาะสมกับบุคคล จึงควรสำรวจความต้องการของผู้เรียน และจัดกลุ่มตามความถนัดและความสนใจ 2)ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า นักเรียนมีความชอบ ความถนัด และมีความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมแตกต่างกัน อีกทั้งพบว่าวัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการไม่พร้อมเท่าที่ควร ดังนั้นจึงควรแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มตามความสนใจควรจัดกลุ่มตามความถนัดและจัดให้มีการฝึกปฏิบัตินอกเวลา โดยใช้ผู้ที่มีความถนัด และมีความสามารถในกิจกรรมนั้น ๆ เป็นวิทยากรพี่เลี้ยง และพิจารณาจัดสื่อ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเติม 3)ด้านกระบวนการ พบว่า แนวการจัดกิจกรรมตามโครงการยังไม่เป็นระบบ ทำให้นักเรียนสับสนขาดความชัดเจนในการปฏิบัติ เวลาทำกิจกรรมน้อยไม่เพียงพอสำหรับการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อให้เกิดทักษะความชำนาญ และวิทยากรมีความชำนาญในการปฏิบัติแต่การถ่ายทอดความรู้ยังไม่ชัดเจนและไม่เป็นลำดับขั้นตอน ดังนั้น ครูผู้รับผิดชอบโครงการควรร่วมมือกับวิทยากรในการวางแผน และประสานการจัดกิจกรรมให้ชัดเจนเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการปฏิบัติควร เพิ่มจัดกิจกรรมนอกเวลาเรียนและจัดกิจกรรมเสริมในวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ อีกทั้งครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมควรประสานและเตรียมความพร้อมร่วมกับวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้ 4)ด้านผลผลิต พบว่า นักเรียนบางกลุ่มยังไม่ให้ความสนใจ และตั้งใจในการร่วมกิจกรรมเท่าที่ควร และนักเรียนบางคนไม่ให้ความร่วมมือและไม่ได้ปฏิบัติจริง ดังนั้นครูผู้รับผิดชอบควรชี้แจงให้นักเรียนกลุ่มนี้ได้ตระหนักถึงผลที่จะได้รับจากการร่วมกิจกรรม และจัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในกลุ่ม และหมุนเวียนกันทำหน้าที่ และ5)ด้านผลกระทบ พบว่า นักเรียนบางกลุ่มมีภาระในการทำกิจกรรมอื่น ๆ ของโรงเรียน ทำให้การเข้าร่วมกิจกรรมไม่ต่อเนื่องโรงเรียน ควรสร้างข้อตกลงและแจ้งครูทุกท่านให้จัดกิจกรรมอื่นไม่ให้ซ้ำซ้อนกัน
Abstract
Title : The report of project evaluation on the development of Local Learning Resource using Career Skill based on the Sufficiency Economy Philosophy for students in Songkornpittayakom School.
Keywords : project evaluation/the development of Local Learning Resource/ Career Skill/ the Sufficiency Economy Philosophy
Author : Mr.Sumate Phomsida
Published Year : 2016
The report of project evaluation on the development of Local Learning Resource using Career Skill based on the Sufficiency Economy Philosophy for students in Songkornpittayakom School which purposes on these following 1) to evaluate on the development of Local Learning Resource using Career Skill based on the Sufficiency Economy Philosophy for students in Songkornpittayakom School focusing Evaluation on Context, Input, Process, Product, Impact, Effectiveness, Sustainability and Transportability 2)to study on the problem and the development of Local Learning Resource using Career Skill based on the Sufficiency Economy Philosophy. The evaluation using CIPPIEST Model by Daniel Stufflebeam which includes Evaluation on Context, Input, Process, Product, Impact, Effectiveness, Sustainability and Transportability .The samples are 18 teachers, 140 students and 140 parents by proportionate stratified random sampling. The research instrument was a questionnaire; data were analyzed by percentage, mean and standard deviation.
The results of the study revealed that the development of Local Learning Resource using Career Skill based on the Sufficiency Economy Philosophy in the high level on Context, Input, Process, Product, Impact, Effectiveness, Sustainability and Transportability and the suggestions as follows: 1) The Context part should focus on students need assessment and classify them based on their interests to develop them in variety skill. 2) The Input part should classify the students in the group of their interests .The students can learn out of the class and should have the expert for those activities. 3) The process part should have the experts to help the teachers setting on the suitable activities to the students and setting not only the classroom management but the teaching materials also. The students should have a chance to learn on weekend using the team of teacher and the expert. 4) The Product part found that some of the students do not attend with the activities so the teacher should manage the group activities to let them enjoy. 5) The Effect found that some of the students have to response the school activities so they skip some of the activities that the teachers have already managed. From that point that I have mentioned the school should plan and make the acceptation of all school members.