ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนเทศบาล ๓
(วิมุกตายนวิทยา) อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
ผู้รายงาน นางสุจิตรา หมื่นพวงศ์
ปีที่รายงาน 2559
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) อำเภอ สุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
วัตถุประสงค์
1.) เพื่อประเมินความเหมาะสมของคู่มือการอบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจวิถีชีวิตประชาธิปไตยในโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.) เพื่อประเมินความเหมาะสมของคู่มือการดำเนินงานส่งเสริมกิจกรรมสภานักเรียน
3.) เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) อำเภอ สุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP MODEL ประเมินในด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 2 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ครูผู้สอน จำนวน 50 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 199 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 195 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 39 คน รวมนักเรียนจำนวน 433 คน ผู้ปกครองนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 199 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 195 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 จำนวน 39 คน รวมผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 433 คน รวมทั้งสิ้น 938 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการประเมิน ได้แก่ คู่มือการอบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจวิถีชีวิตประชาธิปไตยในโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 1 ชุด คู่มือการดำเนินงานส่งเสริมกิจกรรมสภานักเรียน จำนวน 1 ชุด แบบสอบถามความคิดเห็นการประเมินโครงการ จำนวน 6 ฉบับ และแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 3 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละ ผลการประเมินโครงการสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินความเหมาะสมของคู่มือการอบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจวิถีชีวิตประชาธิปไตยในโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นเท่ากับ 4.13
2. ผลการประเมินความเหมาะสมของคู่มือการดำเนินงานส่งเสริมกิจกรรมสภานักเรียนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นเท่ากับ 4.20
3. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส โดยภาพรวมพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต ผลการประเมินรายประเด็นและตัวชี้วัด สรุปได้ดังนี้
3.1 ผลการประเมินความเหมาะสมด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส โดยรวมพบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากและผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ทุกรายการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3.2 ผลการประเมินความเหมาะสมด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส โดยรวมพบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากและผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า โรงเรียนมีการแต่งตั้งบุคลากรที่รับผิดชอบโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
3.3 ผลการประเมินความเหมาะสมด้านกระบวนการของโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส โดยรวมพบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากและผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ทุกรายการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3.4 ผลการประเมินความเหมาะสมด้านผลผลิตของโครงการส่งเสริมประชาธิปไตย ในโรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส โดยรวมพบว่า ด้านคารวธรรม ด้านสามัคคีธรรมและด้านปัญญาธรรม ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ ส่วนด้านผลกระทบเมื่อพิจารณาการปฏิบัติตนของนักเรียนเป็นรายด้านตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้านและนักเรียนมีการปฏิบัติตนตามวิถีประชาธิปไตย โดยมีค่าร้อยละที่เพิ่มสูงขึ้น และความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง โดยภาพรวมพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและผ่านเกณฑ์การประเมิน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน ความพึงพอใจของนักเรียน และความพึงพอใจของผู้บริหารโรงเรียน ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน