เรื่อง : การพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้เทคนิค KWLH Plus ร่วมกับชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านนิทานคติธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5
ผู้รายงาน : นางสุภาวดี แก้วเนื้ออ่อน
ปีที่ศึกษา : 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้เทคนิค KWLH Plus ร่วมกับชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านนิทานคติธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพ ของชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านนิทานคติธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านคลองขุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนบ้านคลองขุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ก่อนและหลังการสอนโดยใช้เทคนิค KWLH Plus ร่วมกับชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านนิทานคติธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนบ้านคลองขุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ที่มีต่อการเรียนรู้ใช้เทคนิค KWLH Plus ร่วมกับชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านนิทานคติธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีกลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559โรงเรียนบ้านคลองขุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูลจำนวน 34 คน ซึ่งเป็นห้องที่ผู้วิจัยเป็นครูประจำชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านนิทานคติธรรมโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ KWLH Plus ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 ชุดกิจกรรม 2. แผนการจัดการเรียนรู้พัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้เทคนิค KWLH Plus ร่วมกับชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านนิทานคติธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านคลองขุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล จำนวน25 แผน รวมเวลา 25 ชั่วโมง 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้เทคนิค KWLH Plus ร่วมกับชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านนิทานคติธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นข้อสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40ข้อและ 4. แบบประเมินความพึงพอใจ ที่มีต่อการเรียนโดยใช้เทคนิค KWLH Plus ร่วมกับชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านนิทานคติธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้รายงานดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ (Percentage) และการทดสอบที (t-test)
จากการศึกษาเรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้เทคนิค KWLH Plus ร่วมกับชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านนิทานคติธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในครั้งนี้ สรุปผลการศึกษา ได้ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านนิทานคติธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 คะแนนระหว่างเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 44.06 จากคะแนนเต็ม 50 คะแนนคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 88.13 และคะแนนสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน มีค่าเฉลี่ย 33.74 จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 86.85 แสดงว่าชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านนิทานคติธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.13 /86.85 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. การเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จากการทดสอบก่อนและหลังการสอนโดยใช้เทคนิค KWLH Plus ร่วมกับชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านนิทานคติธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05โดยค่าเฉลี่ยของคะแนน หลังการสอนโดยใช้เทคนิค KWLH Plus ร่วมกับชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านนิทานคติธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนการสอนโดยใช้เทคนิค KWLH Plus ร่วมกับชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านนิทานคติธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านคลองขุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล จำนวน 34คน ที่มีต่อการเรียนรู้ใช้เทคนิค KWLH Plus ร่วมกับชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านนิทานคติธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดการเรียนการสอน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ ด้านเนื้อหา มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และด้านสื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อนักเรียนมีความสนุกสนานกับการร่วมกิจกรรม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และข้อกระบวนการในชุดกิจรรม ส่งเสริมให้นักเรียนความสนุกสนาน กระตุ้นให้อยากรู้ อยากเรียน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการศึกษาไปใช้
1. ผู้สอนต้องคำนึงถึงพื้นฐานการเรียนรู้ของนักเรียน การแนะนำเบื้องต้นจะเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนตระหนักถึงบทบาทของตนเอง การอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ให้นักเรียนเกิดความตระหนักกระตือรือร้นในการเรียนรู้มากขึ้น
2. การพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ เป็นการคิดขั้นสูง ครูผู้สอนควรใช้สื่อที่ดี อ่าน เข้าใจง่าย มีกิจกรรมที่หลากหลาย ควบคู่กับการสอน