เรื่อง การพัฒนาการเรียนรู้ที่มีต่อการใช้เศษวัสดุเหลือมาประดิษฐ์ของใช้ ในรายวิชา การงานอาชีพและ
เทคโนโลยี 2 ง21102 สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559
ผู้วิจัย นางจิราภรณ์ จำนงค์ไว
ตำแหน่ง ครู คศ.2
วุฒิการศึกษา ปริญญาตรี
ปีที่ทำการวิจัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559
1. ความสำคัญและที่มา
ในปัจจุบันนี้จำนวนหรือปริมาณของเศษวัสดุอุปกรณ์เหลือใช้มีมากมายหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบหรือรูปทรงต่างๆมากมาย ในส่วนของกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี จึงต้องการให้นักเรียนควรมีกระบวนการคิดสร้างสรรค์ ประดิษฐ์ผลงานใหม่ๆจากเศษวัสดุเหลือใช้ เพื่อนำกลับมาเป็นชิ้นงานที่สำเร็จและสวยงาม สามารถนำไปตกแต่งภายในบ้าน และอาจเป็นของฝากของขวัญให้กับบุคคลอื่นได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงใช้วิธีการศึกษาความคิดสร้างสรรค์โดยการเลือกใช้เศษวัสดุมาใช้เป็นงานประดิษฐ์ให้เกิดชิ้นงานใหม่ๆ และมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม เพราะส่วนหนึ่งเป็นการลดขยะจำนวนหนึ่ง ทำให้ไม่ต้องเผาหรือทำลายขยะให้เกิดมลภาวะเป็นพิษขึ้นในสังคมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
2. วัตถุประสงค์ในการวิจัย
เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนโดยใช้เศษวัสดุ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ใช้วิธีการสอนแบบสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี 2 ง21102 สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559
3. สมติฐาน
การใช้เศษวัสดุอย่างประหยัดและปลอดภัยในงานประดิษฐ์ เป็นวิธีการสอนแบบสร้างสรรค์ ทำให้เกิดกระบวนการคิดและการกระทำผลงานใหม่ๆ ซึ่งเหมาะสมและสอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง ในการสร้างงานบ้าน งานเกษตร งานประดิษฐ์ งานช่างและงานธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น
4. ขอบเขตของการวิจัย
ประชากร ได้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2559
นิยามคำศัพท์
การสอนแบบสร้างสรรค์ คือการสอนที่มีกระบวนการโดยมีแบบแผน และกระทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ดีขึ้น และสร้างความเข้าใจให้กับนักเรียนมากขึ้น โดยนำนวัตกรรมใหม่ๆของระบบการสอนเข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อทำให้การเรียนการสอนได้เกิดประสิทธิภาพและได้ผลสอดคล้องกับนโยบายหลักของโรงเรียนฯ
5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. สามารถทำให้นักเรียนคิดสร้างสรรค์ และหาวิธีการใช้เศษวัสดุอย่างประหยัดและมีคุณค่า และสามารถประดิษฐ์ชิ้นงานใหม่ๆได้ถูกต้องเกิดความมั่นใจ มีนวัตกรรมที่ทันต่อยุคเทคโนโลยีในปัจจุบัน
2. เพื่อพัฒนาด้านการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพ ให้ทันสมัยเหมาะสมกับเหตุการณ์และสถานการณ์จริง และที่สำคัญรู้จักประหยัดใช้วัสดุให้เกิดประโยชน์ เหมาะสมกับเศรษฐกิจพอเพียงและความเพียงพอ
6. วิธีการดำเนินการวิจัย
ขั้นตอนการวิจัย
1. วิเคราะห์เรื่องก่อนการพัฒนา คือการสอนตามแผนการสอน โดยการอธิบายให้นักเรียนได้เข้าใจก่อนลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนการสอน
2. ขั้นตอนการสอน คือการสอนตรงตามแผนการสอน พร้อมทั้งดำเนินการกระทำกิจกรรมตามขั้นตอนที่กำหนดไว้
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
1. แผนการสอนโดยใช้วิธีสอนแบบสร้างสรรค์ คือการเลือกเรื่องที่จะทำการสอนจากหลักสูตรที่ทันสมัยสอดคล้องกับยุคเทคโนโลยีในปัจจุบัน และสามารถนำกลับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างคุ้มค่าและมีประโยชน์ให้มากที่สุด สามารถนำไปเป็นอาชีพเสริมของนักเรียนได้ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระทางครอบครัวได้
2. การสอบถาม คือหลังจากที่ได้อธิบายให้นักเรียนแล้ว นักเรียนลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่ได้รับมอบหมาย ครูมีหน้าที่ดูว่านักเรียนได้กระทำถูกต้องตามขั้นตอนหรือไม่อย่างไร หลังจากกระทำเสร็จ ครูทำการสอบถามนักเรียน อาจจะเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มในการปฏิบัติ โดยให้นักเรียนออกมาอธิบายความเข้าใจและขั้นตอนหน้าชั้นเรียน เพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น
3. จากการทำกิจกรรมการเรียนงานประดิษฐ์ คือการลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่ครูสาธิต จนได้ชิ้นงานที่สำคัญแล้วเกิดความภาคภูมิใจ สามารถนำไปตกแต่ง หรือเป็นงานอดิเรกจนกลายเป็นอาชีพได้ในอนาคต
4. เกณฑ์การประเมินผล คือการวัดประเมินผลของนักเรียน โดยจะวัดจากการวางแผนงาน ขั้นตอนการทำงาน การปรับปรุงงาน ความรับผิดชอบในงานที่ทำ ผลสำเร็จของงานซึ่งวางเกณฑ์คุณภาพไว้ 5 ระดับ คือ 4 3 2 1 0
5. ประเมินผล คือจากการที่ครูสังเกตและสอบถามแล้ว จนถึงขั้นลงมือปฏิบัติ ครูสามารถทำการวัดผลและประเมินผลของนักเรียนได้ ซึ่งอาจจะได้จาก ชิ้นงานของนักเรียน หรือการปฏิบัติที่ถูกต้องตามขั้นตอน โดยมีเกณฑ์การประเมินผลดังนี้ คือ นักเรียนได้คะแนน
9-10 = ดีมาก (เกณฑ์คุณภาพ 4)
7-8 = ดี (เกณฑ์คุณภาพ 3)
5-6 = ดีมาก (เกณฑ์คุณภาพ 4)
1-4 = ดีมาก (เกณฑ์คุณภาพ 4)
ต่ำกว่า 4 = ปรับปรุง (เกณฑ์คุณภาพ 0) เป็นต้น
7. การวิเคราะห์ข้อมูล
นำผลมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบจำนวนนักเรียน ในแต่ละระดับคุณภาพก่อนการพัฒนา และหลังการพัฒนาการใช้เศษวัดสุอุปกรณ์อย่างถูกต้องเหมาะสม
8. ผลการวิจัย
นักเรียนส่วนใหญ่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถประดิษฐ์งานจากเศษวัสดุได้สวยงามและเป็นประโยชน์ พร้อมทั้งนำไปตกแต่งใช้งานได้จริง อยู่ในเกณฑ์การประเมินผลคะแนนในระดับ 9-10 เป็นส่วนมาก