แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
รายวิชา คณิตศาสตร์ 6 ค23102 ภาคเรียนที่ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง สถิตเบื้องต้น เวลา 15 ชั่วโมง
เรื่อง ความสำคัญของสถิติ เวลา 1 ชั่วโมง
ผู้สอน นางสาวภัทธิยา แสนจำสาร วันที่........เดือน...................พ.ศ. ..................
__________________________________________________________________________
1. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค 5.1 เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
ตัวชี้วัด ค 5.1 ม.3/1 กำหนดประเด็นและเขียนข้อคำถามเกี่ยวกับปัญหาหรือสถานการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งกำหนดวิธีการศึกษาและการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เหมาะสม
ตัวชี้วัด ค 5.1 ม.3/3 นำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่เหมาะสม
มาตรฐาน ค 5.3 ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา
สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ตัวชี้วัด ค 6.1 ม.3/3 ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจและสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
ค 6.1 ม. 3/5 เชื่อมโยงความรู้ต่างๆในคณิตศาสตร์ และนำความรู้ หลักการ กระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่น
2. สาระสำคัญ
สถิติ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของข้อมูลและการดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการแปลความหมายข้อมูล เพื่อให้ได้ตัวชี้วัดที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจในกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
3.1 ด้านความรู้ (K)
1) นักเรียนสามารถบอกความสำคัญของสถิติได้
3.2 ด้านทักษะและกระบวนการ (P)
1) นักเรียนมีความสามารถในการให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจและสรุปผลได้
2) นักเรียนสามารถนำเสนอวิธีการหาคำตอบจากสถานการณ์ปัญหาที่กำหนดให้ได้
3.3 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)
1) นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย
2) มีวินัยในการเรียน
3) มีจิตสาธารณะ รู้จักช่วยเหลือผู้อื่นในการทำงานและการเรียน
4. สาระการเรียนรู้
ในปัจจุบันหน่วยงานทุกระดับมีความจำเป็นต้องใช้สถิติเป็นเครื่องมือในการกำหนดนโยบายต่างๆ การตัดสินใจหรือวางแผนเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น การประเมินผลงานโครงการต่างๆที่ดำเนินการไปแล้ว ดังตัวอย่างสถานการณ์ต่อไปนี้
1) ขิมเป็นเจ้าของร้านขายขนมหม้อแกง ต้องการทราบว่าควรทำขนมหม้อแกงเพื่อขายให้กับลูกค้าเป็นขนมหม้อแกงเผือก หรือขนมหม้อแกงไข่มากกว่ากัน ก่อนตัดสินใจได้ดำเนินการดังนี้
1. สำรวจความคิดเห็นของลูกค้าประจำประมาณ 50 คนต่อวัน ว่าต้องการซื้อขนมหม้อแกงเผือก หรือขนมหม้อแกงไข่ ถ้าให้ ผ แทน ขนมหม้อแกงเผือก และ ข แทนขนมหม้อแกงไข่ ผลของการสำรวจเป็นดังนี้
ผ ข ผ ผ ข ข ข ผ ข ข
ผ ผ ข ผ ข ข ผ ผ ผ ข
ข ข ข ข ข ผ ผ ข ข ข
ข ผ ข ผ ผ ข ข ผ ข ผ
ผ ผ ข ข ข ผ ข ผ ข ข
2. ขิมจำแนกลูกค้าตามแบบที่เลือก พบว่า ลูกค้าเลือกขนมหม้อแกงเผือก 21 คน และเลือกขนมหม้อแกงไข่ 29 คน
3. ขิมเห็นว่าลูกค้าเลือกขนมหม้อแกงไข่มากกว่าขนมหม้อแกงเผือก จึงตัดสินใจทำขนมหม้อแกงไข่เพื่อขายมากกว่าขนมหม้อแกงเผือก
2) สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ หรือ สทศ. ได้ทำการสำรวจเพื่อเปรียบเทียบ ผลคะแนนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระดับประเทศระหว่างปีการศึกษา 2557 และปีการศึกษา 2558 ผลการสำรวจเป็นดังนี้
1. วิชาภาษาไทย ปีการศึกษา 2558 คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 42.64 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2557 ร้อยละ 7.44
2. วิชาสังคมศึกษา ปีการศึกษา 2558 คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 46.24 ลดลงจากปีการศึกษา 2557 ร้อยละ 0.55
3. วิชาภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2558 คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 30.62 เพิ่มขึ้น จากปีการศึกษา 2557 ร้อยละ 3.16
4. วิชาคณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2558 คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 32.40 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2557 ร้อยละ 2.75
5. วิชาวิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2558 คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 37.63 ลดลงจากปีการศึกษา 2557 ร้อยละ 0.99
จากผลการสำรวจพบว่าวิชาภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นสูงที่สุด รองลงมาคือวิชาภาษาอังกฤษ และวิชาคณิตศาสตร์ตามลำดับ แสดงว่าโดยเฉลี่ยแล้วนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทั้งประเทศมีความรู้ความสามารถด้านภาษาไทย
5. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของสถิติ โดยให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นความคิดของนักเรียน ดังนี้
- นักเรียนเคยได้ยินคำว่า สถิติ หรือไม่
- ถ้าเคยได้ยิน ให้นักเรียนยกตัวอย่าง (สถิติการท่องเที่ยว, สถิติการวิ่ง, สถิติการว่างงานฯลฯ)
2) ครูแจ้งหัวข้อ และจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ
ขั้นที่ 2 ขั้นสอน
2.1 ขั้นไตร่ตรองรายบุคคล
ครูเสนอสถานการณ์ปัญหาในใบกิจกรรมที่ 1.1 เรื่อง ความสำคัญของสถิติ โดยให้นักเรียนพิจารณาสถานการณ์ปัญหา ดังนี้
ขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาของโพลยา มี 4 ขั้นตอน คือ
ขั้นที่ 1 ทำความเข้าใจปัญหา
ให้นักเรียนอ่านสถานการณ์และตอบคำถามต่อไปนี้
1.1 สิ่งที่โจทย์ต้องการ คือ ...............................................................................
1.2 สิ่งที่โจทย์กำหนด คือ ...............................................................................
1.3 ข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้แก้ปัญหา มีอะไรบ้าง ................................................
ขั้นที่ 2 วางแผนแก้ปัญหา
ครูให้นักเรียนกำหนดแนวทางการหาคำตอบด้วยตนเอง โดยพิจารณาจากโจทย์ต้องการอะไร โจทย์กำหนดอะไรให้บ้าง และจะมีวิธีการหาคำตอบได้อย่างไร แล้วบันทึกลงในใบกิจกรรมที่ 1.1
ขั้นที่ 3 ดำเนินการตามแผน
ครูให้นักเรียนดำเนินการหาคำตอบตามที่นักเรียนได้วางแผนเอาไว้
ขั้นที่ 4 มองย้อนกลับ
ครูให้นักเรียนตรวจสอบผลลัพธ์ของวิธีการแก้ปัญหาอีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าวิธีการดังกล่าวเหมาะสมที่สุดหรือไม่ ควรปรับปรุงหรือไม่ อย่างไร
2.2 ขั้นไตร่ตรองระดับกลุ่มย่อย
1) แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 5 คน อภิปรายแนวทางในการหาคำตอบของแต่ละคน พร้อมทั้งตรวจสอบ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงกระบวนการการหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด
2) สมาชิกในแต่ละกลุ่มช่วยกันพิจารณาคัดเลือกแนวทางการหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด แล้วสรุปเป็นความคิดของกลุ่ม แล้วบันทึกลงในใบกิจกรรมที่ 1.2
2.3 ขั้นไตร่ตรองระดับชั้นเรียน
1) นักเรียนแต่ละกลุ่ม ส่งตัวแทนออกมานำเสนอวิธีการหาคำตอบของกลุ่ม เพื่อให้สมาชิกกลุ่มอื่นๆช่วยกันอภิปรายหรือเสนอแนะเพิ่มเติม
2) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปวิธีการหาคำตอบของแต่ละกลุ่มว่าเป็นอย่างไร
3) ครูอธิบาย หรือเสนอแนะวิธีการหาคำตอบเพิ่มเติมในกรณีที่นักเรียนมีปัญหาทำไม่ได้เกี่ยวกับแนวทางการหาคำตอบจากใบกิจกรรมที่ 1.2
2.4 ขั้นสรุปผล
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปว่าสถิติมีความสำคัญอย่างไร (สถิติ เป็นการดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูล เพื่อให้ได้ตัวชี้วัดของข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจในกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง)
2.5 ขั้นนำไปใช้
ให้นักเรียนทำใบงานที่ 1.1 เป็นรายบุคคล เพื่อเป็นการประเมินความรู้ความเข้าใจของนักเรียน
ขั้นที่ 3 ขั้นการวัดและประเมินผล
ครูประเมินนักเรียนจากการตรวจใบกิจกรรมที่ 1.1 และแบบฝึกทักษะที่ 1 แบบประเมินด้านทักษะ/กระบวนการ แบบประเมินด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และแบบบันทึกผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้
6. การวัดและประเมินผล
จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการวัด เครื่องมือ เกณฑ์
การประเมิน
1. ด้านความรู้ (K)
1) นักเรียนสามารถบอกความสำคัญของสถิติได้
- ตรวจใบกิจกรรมที่ 1.1
- ใบกิจกรรมที่ 1.1
นักเรียนทุกคน ทำได้ถูกต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ70 ของคะแนนทั้งหมด
2. ด้านทักษะและกระบวนการ (P)
1) นักเรียนมีความสามารถในการให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจและสรุปผลได้
2) นักเรียนสามารถนำเสนอวิธีการหาคำตอบจากสถานการณ์ปัญหาที่กำหนดให้ได้
- ตรวจใบงานที่ 1.1
- ประเมินด้านทักษะ/กระบวนการ
- ใบงานที่ 1.1
- แบบประเมิน ด้านทักษะ/กระบวนการ
นักเรียนทุกคน ทำได้ถูกต้อง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของคะแนนทั้งหมด
3. ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)
1) นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย
2) มีวินัยในการเรียน
3) มีจิตสาธารณะ รู้จักช่วยเหลือผู้อื่นในการทำงานและการเรียน
การสังเกตพฤติกรรม ความมุ่งมั่น การมีวินัย และการมีจิตสาธารณะในการทำงานและการเรียน
แบบประเมิน ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
นักเรียนทุกคนผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับดีขึ้นไป
7. สื่อการเรียนรู้
7.1 ใบกิจกรรมที่ 1.1 เรื่อง ความสำคัญของสถิติ
7.2 ใบกิจกรรมที่ 1.2 เรื่อง ความสำคัญของสถิติ
7.3 ใบงานที่ 1.1 เรื่อง ความสำคัญของสถิติ
8. แหล่งเรียนรู้
8.1 ห้องสมุดโรงเรียน
8.2 อินเทอร์เน็ต
9. กิจกรรมเสนอแนะ
กรณีที่มีนักเรียนบางกลุ่มทำใบกิจกรรมที่ 1.2 เรื่อง ความสำคัญของสถิติ ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ครูให้นักเรียนกลุ่มนั้นกลับไปศึกษาเพิ่มเติมอีกครั้ง และแก้ไขลงในสมุดส่งครูผู้สอนเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ
10. ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
.......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ลงชื่อ
..
..
(....................................................)
ตำแหน่ง ................................................................
................/.................../.................
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะของผู้บริหารสถานศึกษา
.......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ลงชื่อ
..
..
(....................................................)
ตำแหน่ง ................................................................
................/.................../.................