สุดารัตน์ ผ่านพูล. รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมค่านิยมรักการอ่าน
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา.
ที่ปรึกษา รศ.ดร.บรรจบ บุญจันทร์ , ดร.อำนาจ บุญทรง , ดร.ธีรพนธ์ คงนาวัง.
สถานศึกษา โรงเรียนโคกม่วงศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2.
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมค่านิยมรักการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมค่านิยมรักการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษา 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมค่านิยมรักการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครอง ครู และชุมชน ต่อการใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมค่านิยมรักการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 32 คน ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 7 คน ผู้ปกครอง จำนวน 32 คน และชุมชน จำนวน 79 คน รวมทั้งสิ้น 150 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมค่านิยมรักการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าร้อยละ (%) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการศึกษาพบว่า
1. รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมค่านิยมรักการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมค่านิยมรักการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ตัดสินใจ (Participation in decision making : P1) 2) การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ (Participation in implementation : P2) 3) การมีส่วนร่วมในการประเมินผล (Participation in evaluation : P3) และ 4) การมีส่วนร่วมในการชื่นชม (Participation in appreciation : P4)
2. ประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมค่านิยมรักการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษา พบว่า นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 32 คน ได้คะแนนจากการอ่านทั้ง 20 สัปดาห์ ได้คะแนนการอ่านรวม 5,573 คะแนน จากคะแนนเต็ม 6,400 คะแนน เฉลี่ย 174.16 คิดเป็นร้อยละ 87.08 และทำแบบทดสอบหลังเรียนได้คะแนน รวม 834 คะแนน จากคะแนนเต็ม 960 คะแนน เฉลี่ย 26.06 คิดเป็นร้อยละ 86.66 แสดงว่า รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมค่านิยมรักการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษา มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.08/86.66 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
3. ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน ต่อการใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมค่านิยมรักการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษา พบว่า นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมค่านิยมรักการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษา โดยภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.71 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.33
จากผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมค่านิยมรักการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษา มีรูปแบบเหมาะสมกับระดับความรู้และการบูรณาการในด้านการอ่าน โดยเฉพาะกับนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน เกิดค่านิยมร่วม คือ ชุมชนรักการอ่าน
Sudarath Panpool. Administrative Model of Cooperation Learning for Enhancing Preferred
Reading Values of Primary Students
Consultants Assoc. Prof. Dr. Banjob Boonchan, Dr. Amnart Boonsong, and
Dr. Teerapon Kongnawang
School Khokmuangsuksa School, Chaiyaphum Primary Educational Service
Area Office 2
Year 2016
ABSTRACT
The objectives of this research were 1) to establish and develop an administrative model of participatory learning approach for enhancing preferred reading values of primary students. 2) to determine the effectiveness of an administrative model of cooperation learning for enhancing preferred reading values of primary students. 3) to examine the satisfaction of students, parents, teachers and community to using an administrative model of cooperation learning for enhancing preferred reading values of primary students. The target group of the study included 32 students in grade 1-6, 7 administrators, teachers and educational personnel, 32 parents, and 79 people in community of 79 people, a total of 150 people were selected by purposive sampling. The instruments used in the study was an administrative model of cooperation learning for enhancing preferred reading values of primary students. The statistics used for data analysis were percentage, mean, and standard deviation.
The study indicated that;
1. An administrative model of participatory learning approach for enhancing preferred reading values included four phases: 1) participation in decision making 2) participation in implementation 3) participation in evaluation and 4) participation in appreciation.
2. The effectiveness of an administrative model of participatory learning approach for enhancing preferred reading values of 32 primary students found that students who scored 5573 out of 6400, reading within 20 weeks. An average score was of 174.16 (87.08%). The posttest scores was 834 out of 960. An average score was of 26.06 (86.66). It showed that the effectiveness of an administrative model of participatory learning approach was of 87.08/86.66 which was higher than the criteria setting.
3. The satisfaction of students, teachers, parents and the people in community to using an administrative model of participatory learning approach for enhancing preferred reading values of primary students found that overall satisfaction is at the highest level with an average of 4.71 and standard deviation of 0.33.
The study found that an administrative model of participatory learning approach for enhancing preferred reading values of primary students has appropriated to the level of knowledge and integration of reading, especially with students, parents and people in community, Shared values is community loves to read.