ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
ปีการศึกษา 2558
ผู้รายงาน นางสาวประภาพรรณ เพ็ชรประสมกูล ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านไม้ขาว
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2558
บทสรุป
การประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ปีการศึกษา 2558 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม ประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินกระบวนการดำเนินงานและประเมินผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน โดยมีวิธีการประเมิน 2 ลักษณะคือ การประเมินโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้รายงานได้สร้างขึ้น การประเมินโดยใช้แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาและแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างครู ปีการศึกษา 2558 จำนวน 13 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2558 จำนวน 7 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2558 จำนวน 47 คนและกลุ่มตัวอย่างนักเรียน ปีการศึกษา 2558 จำนวน 47 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และมีข้อคำถามปลายเปิดจำนวน 6 ฉบับ ทุกฉบับ ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยมีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .8013 - .9619 แบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบ้านไม้ขาว ปีการศึกษา 2558 และแบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านไม้ขาว ปีการศึกษา 2558 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows Version 16.5 ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ปีการศึกษา 2558 ด้านสภาพแวดล้อม ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์ประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็นตัวชี้วัด พบว่า ประเด็นความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.55, S.D. = .53) รองลงมา คือ ประเด็นความสอดคล้องกับนโยบายหน่วยงานต้นสังกัดมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( = 4.53, S.D. = .45) รองลงมา คือ ประเด็นความเป็นไปได้ของโครงการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( = 4.46, S.D. = .47) และประเด็นความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.44, S.D. = .52)
2. ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ปีการศึกษา 2558 ด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์ประเมินโดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.58, S.D = .51) เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็นตัวชี้วัด พบว่า ความเพียงพอของงบประมาณมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.67), S.D. = .49) รองลงมา คือ ประเด็นความพร้อมของบุคลากรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.64, S.D. = .54)รองลงมา คือประเด็นวัสดุ อุปกรณ์และอาคารสถานที่มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.54, S.D. = .51) รองลงมา คือประเด็นการบริหารจัดการมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.54, S.D. = .50) ) และประเด็นหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.51, S.D. = .53)
3. ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ปีการศึกษา 2558 ด้านกระบวนการ โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.07, S.D = .67) เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็นตัวชี้วัด พบว่า ด้านการดำเนินกิจกรรม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.25, S.D. = .63) รองลงมา คือ ด้านการวางแผน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( = 4.23, S.D. = .66) รองลงมา คือ ด้านการติดตามและประเมินผล มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( = 4.20, S.D. = .70) และด้านการนำผลไปปรับปรุงพัฒนามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.59, S.D. = .67)
4. ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ปีการศึกษา 2558 ด้านผลผลิตของโครงการ เป็นดังนี้
4.1 ผลการประเมินการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ปีการศึกษา 2558 จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์ประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด ด้านผลผลิตการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.24, S.D = .64) เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็นตัวชี้วัด พบว่า ด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.33, S.D. = .67) รองลงมา คือ ด้านการบริหาร มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( = 4.24, S.D. = .64) ) รองลงมา คือ ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( = 4.20, S.D. = .63) และด้านหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.17, S.D. = .61)
4.2 ผลการประเมินความสามารถในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและเผยแพร่สู่ครอบครัวและชุมชนของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ปีการศึกษา 2558 ตามความคิดเห็นของ นักเรียน ครูและผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์ประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.24, S.D = .27) เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็นตัวชี้วัด พบว่า ประเด็นมีการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อมหรือด้านวัฒนธรรม ไปปฎิบัติร่วมกับบุคคลในชุมชน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.43, S.D. = .57) รองลงมา คือ ประเด็นรู้จักใช้น้ำ ใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและคุ้มค่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( = 4.39, S.D. = .57) ประเด็นร่วมกิจกรรมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( = 4.39, S.D. = .69) ประเด็นรู้จักดูแลร่างกายให้มีความสมบูรณ์แข็งแรง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( = 4.39, S.D. = .50) และประเด็นปฎิบัติตนตามกฎระเบียบของสังคม / กฎหมาย มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.04, S.D. = .70) ประเด็นมีการปฎิบัติในการช่วยลดภาวะโลกร้อน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( = 4.04, S.D. = .58) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
4.3 ผลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ปีการศึกษา 2558 ครอบคลุม 5 ด้าน คือ ด้านคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านคุณภาพหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านคุณภาพการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านคุณภาพการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา และด้านคุณภาพผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D = .67) เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็นตัวชี้วัด พบว่า ด้านคุณภาพผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.60, S.D. = .63) รองลงมา คือ ด้านคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( = 4.53, S.D. = .66) รองลงมา คือ ด้านคุณภาพการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( = 4.47, S.D. = .67) รองลงมา คือ ด้านคุณภาพการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( = 4.27, S.D. = .70) และด้านคุณภาพหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.41, S.D. = .69)
4.4 ผลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ปีการศึกษา 2558 เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านไม้ขาว ปีการศึกษา 2558 เป็นดังนี้
4.4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา พบว่า ปีการศึกษา 2558ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โดยภาพรวม พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 73.93 และเมื่อพิจารณาจำแนกรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงสุด ร้อยละ 80.51 รองลงมา ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ร้อยละ 80.30 รองลงมา ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ดนตรีและศิลปะ ร้อยละ 77.41 และกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำสุด ร้อยละ 69.71
4.4.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-Net : Ordinary National Education Testing) พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ปีการศึกษา 2558
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยรวม ปีการศึกษา 2557 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 69.43 และ
เมื่อพิจารณาจำแนกรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มสาระดนตรีและศิลปะ มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงสุด ร้อยละ 77.00 รองลงมา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงสุด ร้อยละ 76.40 รองลงมา ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ร้อยละ 72.00 และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำสุด ร้อยละ 59.50
ปีการศึกษา 2558 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 71.26 และเมื่อพิจารณาจำแนกรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงสุด ร้อยละ 75.76 รองลงมาได้แก่ กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ค่าเฉลี่ยร้อยละสูงสุด ร้อยละ 75.53 รองลงมา ได้แก่ กลุ่มสุขศึกษาและพลศึกษา ร้อยละ74.38 และกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำสุด ร้อยละ 65.15
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวม ปีการศึกษา 2557 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 71.47 และเมื่อพิจารณาจำแนกรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงสุด ร้อยละ 79.16 รองลงมา ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ดนตรีและศิลปะ ร้อยละ 75.00 รองลงมาได้แก่ กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ร้อยละ 73.92 และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำสุด ร้อยละ 62.00
ปีการศึกษา 2558 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 32.39 และเมื่อพิจารณาจำแนกรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงสุด ร้อยละ 77.05 รองลงมา ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ร้อยละ 76.76 และกลุ่มสาระการเรียนรู้ดนตรีและศิลปะ มีค่าเฉลี่ย ร้อยละต่ำสุด ร้อยละ72.29 และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำสุด ร้อยละ 63.52
4.5 ผลการประเมินความพึงพอใจของโครงการโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ปีการศึกษา 2558 จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์ประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.50,S.D = .50) เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็นตัวชี้วัด พบว่า ประเด็นครูสามารถให้คำปรึกษาและชี้แนะเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.55, S.D. = .50) รองลงมา คือ ประเด็นนักเรียน ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและชุมชน มีส่วนร่วมในการกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.54, S.D. = .50) ประเด็น โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเรียนการสอนตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.54, S.D. = .50) และประเด็นนักเรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตรงตามนโยบายของโรงเรียนและตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.41, S.D. = .49)