ชื่อเรื่อง รูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ)
ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
ผู้วิจัย ภัทรวดี เข้มแข็ง
สถานที่ โรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี สังกัดเมืองพัทยา
ปีที่พิมพ์ 2558
บทคัดย่อ
รูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วม 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย 1) ครูและบุคลากรโรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) จำนวน 73 คน ปีการศึกษา 2558 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) ปีการศึกษา 2558 จำนวน 212 คน 3) คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 20 คน 4) ผู้ปกครองเครือข่าย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสอบถามสภาพและปัญหาการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ จำนวน 4 ฉบับ 2) แบบสอบถามความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานวิชาการ 3) คู่มือประกอบการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารงานวิชาการ 4) แบบสอบถามความเหมาะสมของคู่มือการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารงานวิชาการ และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 4 ฉบับ
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพและปัญหาของการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) พบว่า การศึกษาสภาพและปัญหา โดยการวิเคราะห์เนื้อหาของเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบขอบข่ายของงานวิชาการ 7 ขอบข่าย ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน การพัฒนาทีมงานวิชาการในสถานศึกษา การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และผลการศึกษาสภาพและปัญหาโดยใช้แบบสอบถาม พบว่า โดยภาพรวม ครูและบุคลากรมีความคิดเห็นของอยู่ในระดับไม่แน่ใจ ( =3.07) นักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับ ไม่แน่ใจ ( =2.84) คณะกรรมการสถานศึกษามีความคิดเห็นอยู่ในระดับ ไม่แน่ใจ ( =3.46) ผู้ปกครองมีความคิดเห็นอยู่ในระดับ ไม่แน่ใจ ( =2.81)
2. ผลการสร้างรูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พบว่า ประกอบของรูปแบบฯ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ขอบข่ายของงานวิชาการ 2) ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน 3) การพัฒนาทีมงานวิชาการในสถานศึกษา 4) การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลตรวจสอบความตรงและความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับขอบข่ายวิชาการอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.21) ความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.24) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาทีมงานวิชาการ อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.15) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.24) และผลการประเมินความเหมาะสมของคู่มือการดำเนินงานตามรูปแบบฯ พบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.17)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พบว่า รอบที่ 1 วันที 18 พฤษภาคม 30 กันยายน 2558 ประชุมสรุปผลในวันที่ 25 กันยายน 2558 และรอบที่ 2 วันที่ 2 พฤศจิกายน 2558 31 มีนาคม 2559 ประชุมเพื่อสรุปผลในวันที่ 15 มีนาคม 2559 พบว่า 1) ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน ได้ดำเนินตามกิจกรรมย่อยดังนี้ การจัดองค์กรเพื่อการเรียนการสอนการวางแผนองค์กรเพื่อการสอน การพัฒนาหลักสูตรและการบริหารการเรียนการสอน การจัดโครงการพัฒนาบุคลากร การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน 2) การทำงานเป็นทีมงานวิชาการ ฝึกทักษะ 5 ขั้นตอน ได้แก่ การรับรู้และค้นหาปัญหา การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การวางแผนปฏิบัติการการนำแผนไปปฏิบัติ และการประเมินผลลัพธ์ 3) ผลการปฏิบัติงานตามแนวทางภารกิจและขอบข่ายงานวิชาการ ได้แก่ การวางแผนงานวิชาการการบริหารงานวิชาการ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการการวัดผลและประเมินผลการเรียนและงานทะเบียนนักเรียน การแนะแนวการศึกษา และการประเมินผล
4. ผลการประเมินความพึงพอใจผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พบว่า 1) ความพึงพอใจของครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.15) 2) ความพึงพอใจของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.77) 3) ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมคอยู่ในระดับ มาก ( = 4.28) 4) ความพึงพอใจของผู้ปกครอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ( = 4.07) 5) ความพึงพอใจ โดยภาพรวมความอยู่ในระดับ มาก ( = 4.06)