เรื่องที่ศึกษา : การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน รายวิชาอาหารไทยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รหัสวิชา ง 22201 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง เหลียง ผักพื้นบ้านสารพัดประโยชน์
หน่วยงาน : โรงเรียนบ้านสองแพรก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง
ผู้รายงาน : นางสาวพรระพี ยิกุสังข์
ปีที่ศึกษา : 2557
บทคัดย่อ
การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน รายวิชาอาหารไทยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รหัสวิชา ง 22201 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง เหลียง ผักพื้นบ้านสารพัดประโยชน์ ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน รายวิชาอาหารไทยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รหัสวิชา ง 22201 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง เหลียง ผักพื้นบ้านสารพัดประโยชน์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เหลียง ผักพื้นบ้านสารพัดประโยชน์ เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เหลียง ผักพื้นบ้านสารพัดประโยชน์ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนการสอนหลังการใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เหลียง ผักพื้นบ้านสารพัดประโยชน์
ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสองแพรก จำนวน 3 ห้อง จำนวนนักเรียน 62 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสองแพรก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ซึ่งเป็นนักเรียนหญิงที่เลือกเรียนรายวิชาอาหารไทยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รหัสวิชา ง 22201 จำนวน 38 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เหลียง ผักพื้นบ้านสารพัดประโยชน์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่า t (t Dependent) ผลการศึกษา พบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เหลียง ผักพื้นบ้านสารพัดประโยชน์ มีประสิทธิภาพ 83.21/85.44 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เหลียง ผักพื้นบ้านสารพัดประโยชน์ มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.6976 หรือร้อยละ 69.76
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี หลังการใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เหลียง ผักพื้นบ้านสารพัดประโยชน์ ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.64, S.D. = 0.55)