ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
ของโรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล 1 วัดคำสายทอง) เทศบาลเมืองมุกดาหาร
จังหวัดมุกดาหาร
ผู้วิจัย ปุณยนุช แสนสิงห์ ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา
โรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล 1 วัดคำสายทอง) เทศบาลเมืองมุกดาหาร
จังหวัดมุกดาหาร
ปีที่ศึกษา 2557
บทคัดย่อ
ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล 1 วัดคำสายทอง) โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการนำเสนอผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ของโรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล 1 วัดคำสายทอง) ได้แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา จำนวน 47 คน ประกอบด้วย คณะผู้บริหารเทศบาลเมืองมุกดาหาร ครูปฏิบัติการสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 12 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 15 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 211 คน และนักวิชาการ/ศึกษานิเทศก์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและความต้องการการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับความต้องการและแนวทางการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานคู่มือรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที (t-test) การวิจัยสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน ความต้องการและแนวทางของการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล 1 วัดคำสายทอง) พบว่า สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานตามความคิดเห็นของครูผู้สอนอยู่ในระดับปานกลาง (μ =2.88) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ รองลงมาคือการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนรู้จากเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนรู้จากกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนรู้จากหลักสูตรสถานศึกษา ส่วนความต้องการในการพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (μ =4.53) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ รองลงมาคือการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนรู้จากเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนรู้จากกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนรู้จากหลักสูตรสถานศึกษา ความต้องการและแนวทางในการจัดการเรียนรู้จากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ สรุปได้ว่าการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเป็นการจัดการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2552-2561) การเรียนรู้ตลอดชีวิตเกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยแนวทางที่ควรจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในโรงเรียนต้องเป็นแนวทางที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจ จะต้องให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองมากที่สุด โดยโรงเรียนต้องจัดแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย จัดสภาพแวดล้อม ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุดที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ให้ผู้เรียนและควรกำหนดไว้ในโครงสร้างหลักสูตรหรือแผนปฏิบัติการของโรงเรียน
จากการสังเคราะห์องค์ประกอบหลักเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ผู้วิจัยได้นำข้อมูลจากการศึกษาในขั้นที่ 1-3 มาสังเคราะห์รูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล 1 วัดคำสายทอง) ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนรู้จากหลักสูตรสถานศึกษา
องค์ประกอบที่ 2 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
องค์ประกอบที่ 3 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนจากกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
องค์ประกอบที่ 4 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนจากแหล่งเรียนรู้
2. ผลการสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล 1 วัดคำสายทอง) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 8 แนวทาง 48 รายการ ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนรู้จากหลักสูตรสถานศึกษา
แนวทางที่ 1 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยรายวิชาเพิ่มเติม มี 6 รายการ
แนวทางที่ 2 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยกิจกรรมชุมนุมกลุ่มสนใจมี 13 รายการ
องค์ประกอบที่ 2 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
แนวทางที่ 1 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมี 2 รายการ
แนวทางที่ 2 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานจากสื่อเทคโนโลยีทางการศึกษามี 2 รายการ
องค์ประกอบที่ 3 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนจากกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
แนวทางที่ 1 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานจากกิจกรรมการอบรมระยะสั้น มี 7 รายการ
แนวทางที่ 2 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานจากกิจกรรมค่ายวิชาการ มี 4 รายการ
แนวทางที่ 3 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานจากกิจกรรมเสริมหลักสูตร มี 5 รายการ
องค์ประกอบที่ 4 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนจากแหล่งเรียนรู้
แนวทางที่ 1 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานจากแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนมี 5 รายการ
แนวทางที่ 2 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานจากแหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียนมี 4 รายการ
การสร้างคู่มือการดำเนินการตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล 1 วัดคำสายทอง) ประกอบด้วยส่วนสำคัญดังต่อไปนี้
1. หลักการและเหตุผล
2. วัตถุประสงค์
3. ข้อจำกัดในการนำคู่มือไปใช้
4. วิธีดำเนินการตามรูปแบบ
5. เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ
6. บรรณานุกรม
7. ภาคผนวก
ผลการประเมินคู่มือการดำเนินการตามรูปแบบจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล 1 วัดคำสายทอง) สรุปได้ดังนี้
1. คู่มือรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล 1 วัดคำสายทอง) ที่สร้างขึ้น มีความสอดคล้องกับหลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการการศึกษาตลอดชีวิตและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542
2. โครงร่างของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล 1 วัดคำสายทอง) มีความเหมาะสม ชัดเจนแต่ควรลดกิจกรรมในแต่ละรูปแบบและเขียนคำอธิบายการดำเนินการให้ชัดเจน
3. โครงร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล 1 วัดคำสายทอง) สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับนักเรียนได้เนื่องจากเป็นรูปแบบที่ได้เรียนรู้กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริง เรียนรู้จากการปฏิบัติด้วยตนเอง มีกิจกรรมหรือการเรียนรู้ให้นักเรียนเลือกเรียนหลากหลาย และมีประโยชน์กับครูเนื่องจากครูจะได้มีแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ส่วนประสิทธิภาพในการการดำเนินงานนั้นขึ้นอยู่กับบริบทและการบริหารงานของโรงเรียน
4. องค์ประกอบและกิจกรรมในรูปแบบนั้นมีเพียงพอต่อการจัดกิจกรรมไม่ควรมีมากกว่านี้เพราะจะทำให้เป็นภาระในการจัดการเรียนการสอนของครูและนักเรียน
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล 1 วัดคำสายทอง) มีดังนี้
3.1 ผลการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของครูปฏิบัติการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ของโรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล 1 วัดคำสายทอง) พบว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานโดยภาพรวมมีการปฏิบัติ/เห็นด้วยอยู่ในระดับ มากที่สุด (μ =4.52)
3.2 ผลการศึกษาความพึงพอใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของนักเรียนโรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล 1 วัดคำสายทอง) พบว่าความพึงพอใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของนักเรียนโรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล 1 วัดคำสายทอง) โดยภาพรวมมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานอยู่ในระดับมากที่สุด (μ =4.55)
4. ผลการนำเสนอผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล 1 วัดคำสายทอง)
ผู้วิจัยได้ดำเนินการประชาพิจารณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนและศึกษาความคิดเห็นผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาโรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล 1 วัดคำสายทอง) พบว่าโดยภาพรวมเห็นด้วยกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานอยู่ในระดับมากที่สุด (μ =4.58)