ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้รายงาน น้ำทิพย์ พูลสวัสดิ์
สังกัด โรงเรียนวัดด่านช้าง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3
ปีที่ดำเนินการ ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนวัดด่านช้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 32 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยจับสลาก จากจำนวน 3 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ประกอบด้วย 1) แบบฝึกเสริมทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง
ตัวประกอบของจำนวนนับ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 5 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 18 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนที่ครอบคลุมจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหาทั้ง 5 เล่ม ทั้งหมด 30 ข้อ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนที่ใช้ประเมินผลรายเล่ม จำนวน 50 ข้อ (เล่มละ
10 ข้อ) ทั้งหมดเป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ (Multiple Choices) 4 ตัวเลือก แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนเป็นข้อสอบแบบคู่ขนาน(ชุดเดียวกันแต่สลับข้อ) 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพบทเรียน คือ ค่าความเที่ยงตรงตามเนื้อหา0(IOC) ค่าความยากง่าย (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) ค่าความเชื่อมั่น ค่าประสิทธิภาพของบทเรียน (E1:E2) ค่าเฉลี่ย (x̄) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยค่า t-test แบบ Dependent
ค่าความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนค่าเฉลี่ย( x̄) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการศึกษา ปรากฏดังนี้ 1) แบบฝึกเสริมทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทั้ง 5 เล่ม มีประสิทธิภาพ 82.30/83.50
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทั้ง 5 เล่ม สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการวิเคราะห์หาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 ข้อ พบว่า มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.6767 นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 67.67 และจากผลการวิเคราะห์หาดัชนีประสิทธิผล แบบฝึกเสริมทักษะทั้ง 5 เล่ม จำนวน 50 ข้อ พบว่า มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.7544 นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 75.44 4) นักเรียนมี
ความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก สรุปผล
การประเมินคะแนนค่าเฉลี่ยทุกด้านเท่ากับ 4.28 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.36 ( = 4.28,
S.D. = 0.36