ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการผู้ปกครองช่วยสอนเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
ของโรงเรียนเทศบาล 1 บ้านตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ผู้วิจัย ชุติพร สุระกำแหง
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการผู้ปกครองช่วยสอนเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนเทศบาล 1 บ้านตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ซึ่งใช้การประเมินรูปแบบ ซิป (CIPP Evaluation Model) การประเมิน 4 ด้าน ดังนี้ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Product) ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 13 คน ครูผู้สอนโรงเรียนเทศบาล 1 จำนวน 32 คน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง จำนวน 145 คน และนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 จำนวน 427 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)
ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ ในภาพรวมการประเมินโครงการผู้ปกครองช่วยสอนเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนเทศบาล1 บ้านตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี โดยใช้รูปแบบ CIPP Model อยู่ในระดับมาก โดยผล
1.การวิเคราะห์ข้อมูลของคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองโรงเรียนเทศบาล 1
ในภาพรวมความคิดเห็นของคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงาน
ตามโครงการผู้ปกครองช่วยสอนเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนเทศบาล 1
บ้านตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า
1.1 การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation: C)ระดับความคิดเห็นของคณะกรรมการเครือข่ายเกี่ยวกับความสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและความสนใจ ความถนัดและความสามารถของผู้เรียน ของสภาพการดำเนินงานตามโครงการผู้ปกครองช่วยสอนเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอยู่ในระดับมาก
1.2 การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation: I) ระดับความคิดเห็นของคณะกรรมการเครือข่ายเกี่ยวกับความพร้อมและเพียงพอของปัจจัยในการดำเนินงานตามโครงการผู้ปกครองช่วยสอนเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน อยู่ในระดับมาก
1.3 การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation: P) ระดับความคิดเห็นของคณะกรรมการเครือข่ายเกี่ยวกับความเหมาะสมของสภาพการดำเนินงานตามโครงการผู้ปกครองช่วยสอนเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอยู่ในระดับมาก
1.4 ด้านผลผลิต (Product Evaluation: P) ระดับความคิดเห็นของคณะกรรมการเครือข่ายเกี่ยวกับความสำเร็จและความพึงพอใจต่อการดำเนินงานตามโครงการผู้ปกครองช่วยสอนเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอยู่ในระดับมาก
2.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการผู้ปกครองช่วยสอนเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ซึ่งระดับความคิดเห็นของนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า
2.1 การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation: C)ระดับความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับความสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและความสนใจ ความถนัดและความสามารถของผู้เรียน ของสภาพการดำเนินงานตามโครงการผู้ปกครองช่วยสอนเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอยู่ในระดับมาก
2.2 การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation: I) ระดับความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับความพร้อมและเพียงพอของปัจจัยในการดำเนินงานตามโครงการผู้ปกครองช่วยสอนเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน อยู่ในระดับมาก
2.3 การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation: P) ระดับความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับความเหมาะสมของสภาพการดำเนินงานตามโครงการผู้ปกครองช่วยสอนเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอยู่ในระดับมาก
2.4 ด้านผลผลิต (Product Evaluation: P) ระดับความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับความสำเร็จและความพึงพอใจต่อการดำเนินงานตามโครงการผู้ปกครองช่วยสอนเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอยู่ในระดับมาก