ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางณัฐกฤตา แปกลาง
ปีที่ทำการวิจัย 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้
ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วย
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์
ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการเรียนรู้
ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจ
ของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง
แสงและทัศนอุปกรณ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 5 ที่เรียนอยู่ในปีการศึกษา 2558 โรงเรียนมะค่าวิทยา จำนวน 19 คน โดยวิธีการเลือกแบบ
เจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการ
วิเคราะห์ข้อมูล คือ หาความเที่ยงเชิงเนื้อหาโดยใช้ดัชนีความสอดคล้องของความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ ด้วยวิธี E1/E2 หาค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความพึงพอใจด้วยวิธีการหาความ
คงที่ภายในจากสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค หาค่าความยากง่ายของแบบทดสอบวัดผล
สัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ ด้วยเทคนิค 25% กลุ่มสูง กลุ่มต่า หาความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้วยสูตร KR-20 เปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการทดสอบที (t-test) และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ โดยใช้ค่าเฉลี่ย ( X-bar) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 76.61/76.33 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการเรียนรู้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง มีนัยสาคัญที่ระดับ .01 3) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการเรียนรู้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .01 4) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ด้านความรู้ความเข้าใจ และด้านกระบวนการกลุ่มมีค่าเฉลี่ยรองลงมาตามลาดับ