การประเมินโครงการปรับปรุงระบบสุขาภิบาลภายในโรงเรียนหนองยางพิทยาคม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการ 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการของโครงการ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการ 5) เพื่อประเมินด้านผลกระทบของโครงการ และ 6) เพื่อประเมินด้านประสิทธิผลของโครงการ โดยใช้วิธีการประเมินของ Daniel L. Stufflebeam รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIE Model กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย ผู้บริหาร 2 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ครู จำนวน 9 คน นักเรียน จำนวน 217 คน นักเรียนแกนนำ อย.น้อย จำนวน 12 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 222 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และประเด็น การสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการปรับปรุงระบบสุขาภิบาลภายในโรงเรียนหนองยาง พิทยาคม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ในภาพรวม พบว่า โครงการปรับปรุงระบบสุขาภิบาลภายในโรงเรียนหนองยางพิทยาคม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายด้าน พบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับเหมาะสมมากทุกด้าน โดยด้านมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านผลกระทบ รองลงมา ได้แก่ ด้านประสิทธิผล ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านผลผลิต ตามลำดับ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านกระบวนการ
2. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ กิจกรรมตามโครงการมีประโยชน์ต่อนักเรียน และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ โครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน และกิจกรรมตามโครงการมีความเหมาะสม
3. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ความรู้ ความสามารถของผู้บริหาร และครู ในการขับเคลื่อนโครงการ และ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือความเหมาะสมด้านวัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินกิจกรรม
4. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรม/โครงการ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การดำเนินการจัดกิจกรรมปรับปรุงซ่อมแซมรางระบายน้ำ สำหรับผลการประเมินรายข้อตามขั้นตอนกระบวนการ พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับเหมาะสมมากทุกขั้นตอน โดยขั้นตอนที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ขั้นตรวจสอบและประเมินผล รองลงมาได้แก่ ขั้นการปรับปรุงและพัฒนา ขั้นวางแผนการดำเนินงาน ตามลำดับ และขั้นตอนที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ขั้นดำเนินงานตามแผน
5. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โรงเรียนมีการจัดการระบบสุขาภิบาลที่ดี และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ นักเรียนนักเรียนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสุขอนามัย
6. ผลการประเมินด้านผลกระทบ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ผู้บริหารและครูได้รับการยอมรับจากผู้ปกครองและชุมชน และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ โรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากบุคคล/หน่วยงานภายนอก
7. ผลการประเมินด้านประสิทธิผล พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ กิจกรรมสนองตอบต่อความต้องการอย่างครอบคลุม และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ประสิทธิภาพในการดำเนินงานที่คุ้มค่า