ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้เพลงเป็นสื่อ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน
และการเขียนมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
ชื่อผู้ศึกษา บังอร บุญทิพย์
สถานที่ศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านตะลุบัน สังกัดเทศบาลเมืองตะลุบัน
อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ปีที่ศึกษา ๒๕๕๘
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้เพลงเป็นสื่อ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและ
การเขียนมาตราตัวสะกดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้เพลงเป็นสื่อ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
๒) ออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้เพลงเป็นสื่อ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและ
การเขียนมาตราตัวสะกดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ๓) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้เพลงเป็นสื่อ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ๔) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียน
ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้เพลงเป็นสื่อ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒/๒ โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านตะลุบัน สังกัดเทศบาลเมืองตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ จำนวนนักเรียน ๒๒ คนได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เพลงประกอบการเรียนรู้ เรื่อง มาตราตัวสะกดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๙ เพลง แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน ๒๙ แผน ชั่วโมงสอน ๒๙ ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ ๓ ตัวเลือก จำนวน ๓๐ ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น (KR-20) เท่ากับ ๐.๘๖ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น ( ) เท่ากับ ๐.๘๓ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ
ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสองค่าจากกลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มเดียว (t-test for Paired Samples)
ผลการศึกษา พบว่า ตอนที่ ๑ ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้เพลงเป็นสื่อ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ พบว่า
นักเรียนอ่านและเขียนหนังสือผิดๆถูกๆอ่านออกเสียงเพี้ยนอ่านและเขียนตกหล่นไม่ถูกต้องเพราะขาดการฝึกฝนไม่ทราบความหมายของคำไม่พยายามศึกษาหลักเกณฑ์ทางภาษา
ไม่เข้าใจหลักเกณฑ์การอ่านการเขียนคำตามหลักภาษาไทยที่ประสมด้วยสระและมีตัวสะกดค่อนข้างซับซ้อนจดจำตัวอย่างการใช้ภาษาที่ผิดจากสื่อสิ่งพิมพ์สื่อมวลชน และอินเทอร์เน็ตแล้วนำมาใช้
จนเกิดความเคยชิน ทำให้เกิดปัญหาด้านการอ่านและการเขียนคำนักเรียนมักเกิดความสับสนและผิดพลาดในการอ่านและเขียนคำที่ประสมด้วยสระและคำที่มีตัวสะกดตามมาตราตัวสะกด
ครูผู้สอนยังขาดความรู้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนและเลือกใช้สื่อที่หลากหลาย น่าสนใจที่มีความเหมาะสมกับวัยของผู้เรียนเหมาะกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริงส่วนใหญ่ครูใช้การสอนจากหนังสือ
ของโรงเรียนที่จัดให้เป็นส่วนใหญ่เน้นการบรรยายให้นักเรียนฟังและทำการบ้านครูไม่นำเทคนิควิธี
การสอนเข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนขาดประสบการณ์ในการสอนทักษะในการอ่านและ
การเขียนภาษาไทย
ตอนที่ ๒ ออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้เพลงเป็นสื่อ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้เพลงเป็นสื่อ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน
มาตราตัวสะกดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ ๘๓.๘๕/๘๓.๕๐ สูงกว่าเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ที่กำหนด
ตอนที่ ๓ ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้เพลงเป็นสื่อ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้เพลงเป็นสื่อ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑
ดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้เพลงเป็นสื่อ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มีค่าเท่ากับ๐.๗๖๙๑ หรือคิดเป็นร้อยละ ๗๖.๙๑ แสดงว่า หลังจากนักเรียนได้เรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้เพลงเป็นสื่อ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกดกลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนหรือมีความรู้เพิ่มขึ้น๐.๗๖๙๑๕ หรือคิดเป็นร้อยละ ๗๖.๙๑ ซึ่งมีค่ามากกว่า ๐.๗๐ ที่กำหนดไว้
ตอนที่ ๔ ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้เพลงเป็นสื่อ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกดกลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้เพลงเป็นสื่อ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ๔.๕๕