ชื่อเรื่อง : รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกด
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนเทศบาลประตูลี้
ชื่อผู้ศึกษา : นางดวงใจ ขาวสัก
ปีที่ศึกษา : 2558
บทคัดย่อ
รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนเทศบาลประตูลี้ ครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนเทศบาลประตูลี้ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนเทศบาลประตูลี้ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนเทศบาลประตูลี้ ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลประตูลี้ สังกัดเทศบาลเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ปีการศึกษา 2558 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 4 ห้องเรียน จำนวน 115 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลประตูลี้ สังกัดเทศบาลเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ปีการศึกษา 2558 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 28 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลากแบบไม่แทนที่ (Sampling with Replacement) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 9 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง การอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกด โรงเรียนเทศบาลประตูลี้จำนวน 18 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 20 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลประตูลี้ สังกัดเทศบาลเมืองลำพูน ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
สรุปผล
1. แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) มีค่าเท่ากับ 83.48 และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) 88.04 ดังนั้น ประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เท่ากับ 83.48/88.04 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ คือ 80/80 แสดงว่า แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า คะแนนก่อนเรียนของนักเรียนคิดเป็นร้อยละ 38.75 คะแนน ( X = 7.75 , S.D.= 0.59) คะแนนหลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 88.04 (X = 17.61 , S.D.= 0.74) ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับคะแนนผลต่างมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.86 และผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนเทศบาลประตูลี้ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า ผู้เรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกด โดยภาพรวมผู้เรียนมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.86, S.D. = 0.07) หากพิจารณาเป็นรายข้อนักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดทุกข้อ