ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI) เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้ศึกษา นายประสิทธิ์ กันคำ
สถานที่ทำงาน โรงเรียน อบต. เมืองพาน (บ้านดอนตัน) อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
ปีที่ศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 80/80
2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ สาระเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน อบต. เมืองพาน (บ้านดอนตัน) อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 17 คน ได้มาโดยการได้มาโดยการเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2)บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ทั้งหมด 9 หน่วย 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 18 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่า t-test (Dependent)
ผลการศึกษาพบว่า
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.17/89.80 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ได้ตั้งสมมติฐานไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ และคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจของต่อการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ และคอมพิวเตอร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมาก(ค่าเฉลี่ย= 4.30, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.63)