ชื่อผู้วิจัย : นายภัคพงศ์ วิมลสุรนาถ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
โรงเรียนโนนข่าวิทยา อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25
ปีที่วิจัย : 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง กราฟของฟังก์ชันและการแก้ปัญหา สำหรับการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์เทคนิค STAD ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง กราฟของฟังก์ชันและการแก้ปัญหา สำหรับการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์เทคนิค STAD ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังจากการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง กราฟของฟังก์ชันและการแก้ปัญหา สำหรับการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์เทคนิค STAD กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนโนนข่าวิทยา อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 จำนวน 42 คน ทดลองใช้ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 เป็นเวลา 26 ชั่วโมง แบบแผนการทดลอง คือ The One Group Pretest - Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง กราฟของฟังก์ชันและการแก้ปัญหา จำนวน 7 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์เทคนิค STAD จำนวน 26 แผน 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก 30 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง กราฟของฟังก์ชันและการแก้ปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence : IOC) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t test for Dependent Sample )
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง กราฟของฟังก์ชันและการแก้ปัญหา สำหรับการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์เทคนิค STAD ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 76.67/76.11 ดังนั้นประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง กราฟของฟังก์ชันและการแก้ปัญหา สำหรับการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์เทคนิค STAD ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 75/75
2. ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง กราฟของฟังก์ชันและการแก้ปัญหา สำหรับการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์เทคนิค STAD ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น 0.5673 หรือร้อยละ 56.73
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง กราฟของฟังก์ชันและการแก้ปัญหา สำหรับการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์เทคนิค STAD
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง กราฟของฟังก์ชันและการแก้ปัญหา สำหรับการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์เทคนิค STAD พบว่าโดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดสองด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ 1) ด้านการจัดการเรียนการสอน 2) ด้านรูปแบบของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากสองด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ 1) ด้านเนื้อหา และ 2) ด้านการวัดผลประเมินผล เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 9 ข้อ และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 11 ข้อ