ชื่อผลงาน รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนโรงเรียน
คันธพิทยาคาร ตามกระบวนการ KANTA ปีการศึกษา 2559
ผู้รายงาน นายอนุชิต พงค์เกื้อ
ตำแหน่งรองผู้อำนวยการโรงเรียนคันธพิทยาคาร
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2559
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนโรงเรียน
คันธพิทยาคาร ตามกระบวนการ KANTA ปีการศึกษา 2559 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้าด้านกระบวนการและด้านผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม มาใช้ในการประเมินซึ่งใช้วิธีการประเมินสองลักษณะ ได้แก่การประเมินโดยใช้แบบสอบถามความเหมาะสม และประเมินตามสภาพจริง โดยใช้แบบบันทึกผลการประเมินคุณลักษณะตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน ข้อ 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวน 496 คน ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 226 คน กลุ่มตัวอย่างครูจำนวน 31 คนกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 226 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งสิ้น 9 ฉบับ ประกอบด้วยแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 8 ฉบับ และแบบบันทึกผลการประเมินคุณลักษณะตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน ข้อ 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนเป็นการบันทึกผลการประเมินตามสภาพจริงจำนวน 1 ฉบับ เครื่องมือทุกฉบับผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับอยู่ระหว่าง 0.841-0.929 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows V.16
 
ผลการประเมิน
1. ผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนโรงเรียนคันธพิทยาคาร ตามกระบวนการ KANTA ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานค่าน้ำหนัก 15% ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดโดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนโรงเรียนคันธพิทยาคาร ตามกระบวนการ KANTA ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของครู ค่าน้ำหนัก 15% ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( x̄= 4.36, S.D.= .64) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) ดำเนินโครงการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนโรงเรียนคันธพิทยาคาร ตามกระบวนการ KANTA ปีการศึกษา2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง ค่าน้ำหนัก 20% ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดโดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4. ด้านผลผลิต (Product)ในการดำเนินโครงการ
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) เกี่ยวกับคุณภาพในการดำเนินการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนโรงเรียนคันธพิทยาคาร ตามกระบวนการ KANTA ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ค่าน้ำหนัก 10% ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดโดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนโรงเรียนคันธพิทยาคาร ตามกระบวนการ KANTA ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ค่าน้ำหนัก 10% ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดโดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.3 ผลการประเมินด้านผลิต (Product) เกี่ยวกับพฤติกรรมที่สะท้อนถึงคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนโรงเรียนคันธพิทยาคาร ปีการศึกษา 2559 ได้แก่ 1) ความเป็นไทย 2) รักชาติ ยึดมั่นในศาสนาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ 3) ความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 4) ความปรองดองสมานฉันท์ และ 5) ความมีวินัยในตนเอง ค่าน้ำหนัก 20% ผลการประเมินพบว่า
4.3.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) เกี่ยวกับพฤติกรรมที่สะท้อนถึงคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนโรงเรียนคันธพิทยาคาร ปีการศึกษา 2559 ตามการประเมินตนเองของนักเรียน ค่าน้ำหนัก 10% ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดโดยภาพรวมได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.3.2 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) เกี่ยวกับพฤติกรรมที่สะท้อนถึงคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนโรงเรียนคันธพิทยาคาร ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของครูและผู้ปกครอง ค่าน้ำหนัก 10% ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดโดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.4 ผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน ข้อ 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนปีการศึกษา 2559 ค่าน้ำหนัก 5% โดยภาพรวมนักเรียนร้อยละ 92.58 มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อยู่ในระดับดีเยี่ยม ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) เกี่ยวกับความพึงพอใจในการดำเนินโครงการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนโรงเรียนคันธพิทยาคาร ตามกระบวนการ KANTA ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ค่าน้ำหนัก 5% ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดโดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
1.1 โรงเรียนควรจัดโครงการอย่างต่อเนื่องเพราะเป็นการยกระดับคุณภาพผู้เรียน
1.2 ควรส่งเสริมให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
1.3 ควรขยายผลการดำเนินโครงการให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
1.4 ควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินและวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษารูปแบบการประเมินอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากรูปแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมิน
2.2 ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียน ตามกระบวนการ KANTA เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
2.3 ควรมีการศึกษาวิจัยประเมินโครงการอื่น ๆ ของโรงเรียนทุกโครงการ เพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพ พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา