การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เรื่องการทำงานของคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ฯ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการทำงานของคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียน
ทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ที่มีต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการทำงานของคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1/7 โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ฯ
ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 46 คนซึ่งได้มาด้วยวิธีการการสุ่มอย่างแบบง่าย Sample Random sampling เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การทำงานของคอมพิวเตอร์ จำนวน 5 หน่วย 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปรนัย 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประสิทธิภาพ (E1 / E2) ดัชนีประสิทธิผล (E.I.) และการทดสอบสมมติฐานใช้ (t - test) Dependent Sampling
ผลการวิจัยพบว่า
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การทำงานของคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้อง เหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.91/81.09 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ 80/80 แสดงว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง
การทำงานของคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การทำงานของคอมพิวเตอร์ มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 9.52 มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 24.50 คะแนนเฉลี่ยความก้าวหน้า 14.97 ร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 49.93 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ ต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของคะแนนเต็ม และเมื่อนำคะแนนจากการทดสอบมาหาค่าดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.73
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่น่าพอใจคือ 0.50 นั่นแสดงว่า การเรียนจากบทเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การทำงานของคอมพิวเตอร์ ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นจริง
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การทำงานของคอมพิวเตอร์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58) รายการที่นักเรียนมีความพึงพอใจสูงเป็น
ลำดับแรก ได้แก่ การเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ( = 4.80) รองลงมา คือ ภาพกราฟิกเหมาะสม ชัดเจน สอดคล้องกับเนื้อหา และมีความสวยงาม
มีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ ( = 4.72) การใช้ภาษาถูกต้องสื่อความหมายได้ชัดเจน และสามารถทบทวนบทเรียนได้สะดวกและง่ายขึ้น และนักเรียนมีความมั่นใจในตนเองในการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น ( = 4.70) ส่วนรายการที่นักเรียนมีความพึงพอใจเป็นลำดับสุดท้าย คือ ลักษณะของขนาด สีตัวอักษร ชัดเจน สวยงาม อ่านง่าย ( = 4.37)