บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนด้วยตนเอง โดยใช้กิจกรรม
การคิดไตร่ตรอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่อง ASEAN FOR KIDS สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) (2)ประเมิน
รูปแบบที่สร้างขึ้น ประเมินความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ ประเมินคุณลักษณะด้านการเรียน
ด้วยตนเองและพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ตอน
ตอนที่ 1 การศึกษาบริบทปัญหาพื้นฐาน แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนด้วยตนเองและรูปแบบการอ่านเพื่อ
ความเข้าใจ โดยใช้กิจกรรมการคิดไตร่ตรองในการอ่าน ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ตอนที่ 2
ประเมินรูปแบบด้วยการวิจัยและพัฒนา นำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย
ครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล สังกัดเทศบาลเมืองหล่มสัก
อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ที่ได้มาโดย
วิธีการสุ่มแบบยกชั้น (Cluster random sampling) 1 ห้องเรียน จำนวน 42 คน โดยใช้ห้องเรียนเป็น
หน่วยการสุ่ม (Sampling Unit) ซึ่งนักเรียนแต่ละห้องมีผลการเรียนไม่แตกต่างกัน เนื่องจากทาง
โรงเรียนได้จัดห้องเรียนโดยคละความสามารถของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างเรียนด้วยรูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนา
ขึ้น คือ 1. ผู้สอนฝึกกิจกรรมการคิดไตร่ตรองในการอ่านก่อนเรียน 3 สัปดาห์ 2. นักเรียนอ่านบทอ่าน
เรื่อง ASEAN FOR KIDS สัปดาห์ละ 1 เรื่อง รวม10 เรื่องใช้เวลา 10 สัปดาห์ 3. ผู้สอนประเมินผลการ
อ่านจากบันทึกการอ่านรวมเวลาที่ใช้ในการทดลอง 15 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ใน
การวิจัย คือ 1.แบบทดสอบความสามารถในการอ่าน 2. แบบวัดคุณลักษณะด้านการเรียนรู้ด้วยตนเอง
3.แบบสัมภาษณ์การสนทนากลุ่มผู้เรียนหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบความแตกต่างของ
ค่าเฉลี่ย คำนวณค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละ
ผลการวิจัย พบว่ารูปแบบการจัดการเรียนด้วยตนเอง โดยใช้กิจกรรมการคิดไตร่ตรอง เพื่อ
พัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ประกอบด้วยหลักการจุดมุ่งหมาย
เนื้อหากระบวนการเรียนการสอน และการวัดผลประเมินผล เรียกว่า SPPSE Model มี1.สำรวจ
พฤติกรรมการอ่าน(Surveying reading strategy : S) ขั้นที่ 2 วางแผน (Planning : P)ขั้นที่ 3 เตรียม
นักเรียน (Preparing: P )ขั้นที่ 4 การดำเนินการอ่านด้วยตนเอง(Self – directed reading : S)ขั้นที่ 5
ประเมินผล (Evaluation: E )ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า 1 คะแนนความสามารถด้านการอ่าน
ภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่าง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
2. คะแนนเฉลี่ยคุณลักษณะด้านการเรียนด้วยตนเองของกลุ่มตัวอย่างก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และ3. ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการอ่านด้วยกิจกรรมการคิดไตร่ตรอง ครั้งที่ 2 -10 สูงกว่าครั้งที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับ .05