บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถการทำวิจัยในชั้นเรียน
สำหรับครูในโรงเรียนสังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
ชื่อผู้วิจัย นางวรรณพร พุทธ์เจริญ ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองอรัญญประเทศอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถการทำวิจัยในชั้นเรียน สำหรับครูในโรงเรียนสังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับครูในโรงเรียนสังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการนิเทศการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับครูในโรงเรียนสังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว และ4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถการทำวิจัยในชั้นเรียน สำหรับครูในโรงเรียนสังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว แหล่งข้อมูล/กลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์การวิจัยขั้นตอนที่ 1 ได้แก่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 หมวด 7 ข้อเสนอในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พุทธศักราช 2552 2561) และพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พุทธศักราช 2546 มาตรา 49 ประกอบกับแผนงาน/โครงการของสถานศึกษา, แนวคิดหลักการและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอน ได้แก่ ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงของ เบนนิสและชิน (Bennis and Chin 1969 : 34 35 ; อ้างถึงใน วัชรา เล่าเรียนดี 2550 : 33 34 ) ทฤษฎีแรงจูงใจ ของ เฮอร์ซเบร์ก 1988 ,อ้างถึงใน วัชรา เล่าเรียนดี (2550 : 68 69) ทฤษฎีมนุษย์สัมพันธ์ ของ เมโย (Mayo อ้างถึงใน Sergiovanni and Stratt 1988) ทฤษฎีภาวะผู้นำของมูตันและเบล็ก (Mouton and Blake) ; เฮอร์เซย์และบลันชาร์ด (Hersey and Blanchard อ้างถึงใน วัชรา เล่าเรียนดี 2550 : 61, 65) และทฤษฎีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ของ วัชรา เล่าเรียนดี (2550 : 38) และแนวคิด หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในชั้นเรียน และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ, ประเด็นการสนทนาครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระและประเด็นการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว และการสอบถามความต้องการในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน แหล่งข้อมูล/ กลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์การวิจัยขั้นตอนที่ 2 ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ตรวจสอบความเหมาะสม/สอดคล้อง ครูโรงเรียนเทศบาลชนะชัยศรี สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว จำนวน 16 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง แหล่งข้อมูล/ กลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์การวิจัยขั้นตอนที่ 3 และ4 ได้แก่ ครูโรงเรียนเทศบาลบ้านกิโลสอง สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมือง อรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ที่ปฏิบัติหน้าที่ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6 จำนวน 8 คน และครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ จำนวน 8 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ใช้ช่วงชั้นเป็นหน่วยในการสุ่ม และใช้การเจาะจงเลือกครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) คู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศการสอน 2) แผนการนิเทศการสอน 3) แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการนิเทศการสอนและด้านการวิจัยในชั้นเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและการคิดวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) สถิติที่ใช้ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย (x̄ ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าที (t-test dependent) 4) แบบประเมินความสามารถในการนิเทศการสอนและการวิจัยในชั้นเรียน ได้แก่ แบบประเมินความสามารถในการนิเทศการสอน, แบบประเมินความสามารถในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน , แบประเมินความสามารถในการเขียนโครงการวิจัยในชั้นเรียน , แบบประเมินความสามารถในการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการนิเทศการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย (x̄ ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการคิดวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)
ผลการวิจัย
1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอน เพื่อเสริมสร้างความ สามารถการทำวิจัยในชั้นเรียน สำหรับครูในโรงเรียนสังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว พบว่า จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาทั้งในระดับประเทศและระดับสถานศึกษามีจุดมุ่งหมายที่สอดคล้องกัน เพื่อพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนให้ควบคู่กันไปกับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน โดยใช้การนิเทศการสอนพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนและใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน และจากความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาประกอบกับครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระก็มีความคิดเห็นในแนวทางเดียวกันว่า ควรพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพและสมรรถนะในการทำงานของครูเพื่อเป็นเครื่องมือในการกำกับดูแลการจัดทำการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในส่วนของความคิดเห็นของนักเรียนก็มีความต้องการให้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิควิธีการที่หลากหลายเน้นการฝึกปฏิบัติจริง ซึ่งจะเป็นข้อมูลในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียนข้อมูลพื้นฐานในการวิจัยเพียงพอคอบคลุมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการวิจัยเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1
2. ผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับครูในโรงเรียนสังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว พบว่า รูปแบบการนิเทศการสอน (UADE Model) ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยกระบวนการนิเทศการสอน 4 ขั้นตอน คือขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความเข้าใจ (Understand : U) ขั้นที่ 2 ขั้นเข้าถึงปัญหา (Access the Problem : A) ขั้นที่ 3 ขั้นร่วมใจพัฒนา (Development Efforts : D) ซึ่งประกอบด้วย 1. การคัดกรองระดับความรู้ (Classifying) 2. การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ (Informing) 3. การดำเนินงานนิเทศการสอน (Proceeding) ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินงานย่อยๆ ดังนี้ 1) การประชุมก่อนการสังเกตการสอน (Pre conference) 2) การสังเกตการสอน (Observation) และ 3) การประชุมหลังการสังเกตการสอน (Post conference) และขั้นที่ 4 ขั้นประเมินผลการพัฒนา ( Evaluation : E) มีความเหมาะสม/ สอดคล้องตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.84 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.07 และจากการหาประสิทธิภาพโดยนำไปทดลองใช้กับครูโรงเรียนเทศบาลชนะชัยศรี ที่ปฏิบัติหน้าที่ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 8 คนและครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวนรวมทั้งสิ้น 16 คน พบว่า มีประสิทธิภาพ (E1/E2) โดยภาพรวมเท่ากับ 82.03/85.63 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับครูในโรงเรียนสังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว พบว่า จากการนำรูปแบบการนิเทศการสอน (UADE Model) ไปทดลองใช้กับครูโรงเรียนเทศบาลบ้านกิโลสอง สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้วภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ใช้โรงเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม (Sampling Unit) และใช้การเจาะจงเป็นครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6 เป็นกลุ่มตัวอย่างครูผู้รับการนิเทศการสอน และครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ เป็นกลุ่มตัวอย่างครูผู้นิเทศการสอน ระหว่างการนิเทศการสอนและหลังการนิเทศมีผลการประเมินความสามารถในการนิเทศการสอนและการทำวิจัยในชั้นเรียนดังนี้ 1) ด้านความสามารถในการนิเทศการสอนของครูผู้นิเทศการสอนประเมินโดยผู้วิจัยมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.22 คะแนนและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.39 คะแนน และประเมินโดยครูผู้รับการนิเทศการสอนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.36 คะแนนและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.18 คะแนน 2) ด้านความสามารถในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้รับการนิเทศการสอนประเมินโดยผู้วิจัยมี คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.23 คะแนน และคะแนนส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.05 คะแนน และประเมินโดยครูผู้นิเทศการสอน มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.25 คะแนนและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.01 คะแนน 3) ด้านความสามารถในการเขียนโครงการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้รับกานิเทศการสอนประเมินโดยผู้วิจัย มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 2.44 คะแนน และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.14 คะแนน คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย ร้อยละเท่ากับ 81.25 คะแนน 4) ด้านความสามารถในการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้รับการนิเทศการประเมินโดยผู้วิจัย มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 2.77 คะแนน และคะแนนส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.93 คะแนน คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยร้อยละ เท่ากับ 88.02 คะแนน เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 3
4. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการนิเทศการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับครูในโรงเรียนสังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว พบว่า หลังการนิเทศการสอนโดยใช้รูปแบบการนิเทศการสอน (UADE Model) โดยภาพรวมครูผู้นิเทศการสอนและครูผู้รับการนิเทศการสอนมีผลการประเมินสูงกว่าก่อนการนิเทศการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้ง 2 ด้าน โดยมีค่าการทดสอบที (t-test dependent) ดังนี้ 1) ด้านความรู้ความเข้าใจการนิเทศการสอนมีค่าการทดสอบที (t-test dependent) เท่ากับ 13.33 2) ด้านความรู้ความเข้าใจการวิจัยในชั้นเรียนมีค่าการทดสอบที (t-test dependent) เท่ากับ 15.15 และเมื่อจำแนกพิจารณาครูผู้นิเทศการสอนและครูผู้รับการนิเทศการสอน พบว่า มีผลการประเมินสูงกว่าก่อนการนิเทศการสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งครูผู้นิเทศการสอนและครูผู้รับการนิเทศการสอน โดยมีค่าการทดสอบที t-test dependent) ดังนี้ 1) ด้านความรู้ความเข้าใจการนิเทศการสอนครูผู้นิเทศการสอนมีค่าการทดสอบที (t-test dependent) เท่ากับ 13.51 และครูผู้รับการนิเทศการสอนมีค่าการทดสอบที (t-test dependent) เท่ากับ 8.92 2) ด้านความรู้ความเข้าใจการวิจัยในชั้นเรียน ครูผู้นิเทศการสอนมีค่าการทดสอบที (t-test dependent) เท่ากับ 13.10 และครูผู้รับการนิเทศการสอนมีค่าการทดสอบที (t-test dependent) เท่ากับ 13.98 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 4 และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ย (x̄ ) เท่ากับ 37.29 และคะแนนส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.06 คะแนน