ชื่อเรื่อง รายงานการวิจัยการประเมินโครงการพัฒนาครูห้องเรียนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใน
โรงเรียนดรุณวิทยาเทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล) อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
ชื่อผู้วิจัย นายอำนาจ หาญสงคราม
สถานที่วิจัย โรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล) อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2558
การวิจัยเรื่อง รายงานการวิจัยการประเมินโครงการพัฒนาครูห้องเรียนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใน
โรงเรียนดรุณวิทยาเทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล) อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่านมีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ 1) เพื่อประเมินพัฒนาการสอนของครูและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการปฏิบัติงานของครูที่ผ่านการนิเทศจากศึกษานิเทศก์ 2) เพื่อประเมินสมรรถนะการสอนของครูที่รับผิดชอบห้องเรียนธรรมชาติที่ผ่านการนิเทศจากศึกษานิเทศก์ในด้านต่อไปนี้ 2.1 ความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการกับนวัตกรรมการเรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติ 2.2 พฤติกรรมการสอนของครูในห้องเรียนธรรมชาติ 2.3 ความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียน สื่อ นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสอนห้องเรียนธรรมชาติ 3)เพื่อประเมินสมรรถนะการสอนห้องเรียนธรรมชาติของครูผู้รับผิดชอบ 4) เพื่อประเมินความคิดเห็นของนักเรียนต่อพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนห้องเรียนธรรมชาติ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงประเมิน ร่วมกับการวิจัยเชิงผสมผสานวิธี (Mixed Method Research) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย พนักงานครู จำนวน 24 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 85 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 85 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 14 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินตนเองเกี่ยวกับการพัฒนาการด้านการจัดกิจกรรการเรียนการสอนห้องเรียนธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการปฏิบัติงานของครูผู้สอนห้องเรียนธรรมชาติที่เข้ารับการนิเทศและ ประเด็นการสนทนากลุ่มครูผู้สอนห้องเรียนธรรมชาติ ที่เข้ารับการนิเทศ แบบประเมินคุณภาพหน่วยการเรียนรู้/แผนจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนห้องเรียนธรรมชาติ แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย แบบประเมินคุณภาพการนิเทศ ด้านการสอนห้องเรียนธรรมชาติแบบสอบถามความคิดเห็นของครูเครือข่ายต่อความสามารถในการขยายแนวคิดการพัฒนาการเรียนการสอนห้องเรียนธรรมชาติ ประเด็นสนทนากลุ่ม/สัมภาษณ์ ความคิดเห็นที่มีต่อสมรรถนะการสอนห้องเรียนธรรมชาติของครูผู้สอนและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการปฏิบัติงานของครูผู้สอนห้องเรียนธรรมชาติที่เข้ารับการนิเทศ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกความคิดเห็นที่มีต่อสมรรถนะการสอนห้องเรียนธรรมชาติของครูผู้สอนห้องเรียนธรรมชาติแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนธรรมชาติของครูวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย ( X-ber ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ครูผู้สอนห้องเรียนธรรมชาติมีการพัฒนาการด้านการสอน และมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการปฏิบัติงานของตนเอง สูงขึ้นกว่าก่อนการนิเทศ
2. การพัฒนาการสอนของครูผู้สอนห้องเรียนธรรมชาติ ที่ผ่านการนิเทศจากศึกษานิเทศก์พบว่า 1) มีความสามารถในการเขียนหน่วยการเรียนรู้/แผนการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด 2)มีพฤติกรรมการสอนห้องเรียนธรรมชาติอยู่ในระดับมาก 3) ความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนหรือสื่อ/ นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสอนห้องเรียนธรรมชาติเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนห้องเรียนธรรมชาติ มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก4) ความสามารถในการขยายแนวคิดการพัฒนาการเรียนการสอนห้องเรียนธรรมชาติ สู่ครูเครือข่าย พบว่า สามารถพัฒนาแบบนิเทศ มีคุณภาพอยู่ในระดับมากและสามารถขยายผลกับครูเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
3. สมรรถนะการสอนห้องเรียนธรรมชาติของครูผู้สอนห้องเรียนธรรมชาติที่ผ่านการนิเทศตามความคิดเห็นของศึกษานิเทศก์ พบว่าครูมีความเป็นมืออาชีพ มีเทคนิคและวิธีการสอนที่มีความหลากหลายมากขึ้น โดยมีเทคนิควิธีสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะทางภาษาครบทุกด้าน ทั้งการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน มีการวางแผนการสอนที่เป็นระบบ และเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียนเป็นสำคัญ มีสื่อประกอบการสอนที่ผลิตด้วยตนเองมากขึ้น มีการวางแผนการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง โดยใช้เครื่องมือและวิธีการที่หลากหลายและสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอน ครูกล้าแสดงออกและมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น มีความกระตือรือร้นในการทำงาน มีรูปแบบการทำงานเป็นขั้นตอน มีความเอาใจใส่ต่อผู้เรียน และกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น สามารถขยายผลเพื่อพัฒนาวิชาชีพแก่เพื่อนครูทั้งในนอก สามารถสร้างนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาผลงานทางวิชาการและเป็นที่ยอมรับของโรงเรียนและชุมชน
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์พบว่าอยู่ในระดับดี มีพัฒนาการด้านการเรียนรู้
ดีขึ้นมาก และนักเรียนคิดเห็นว่าครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดีมาก มีเทคนิควิธีที่น่าสนใจ เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน มีความรู้ความเข้าใจในการเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น และนักเรียนสามารถนำความรู้ในการเรียนไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ และมีความมั่นใจในการใช้ทักษะทางภาษา การฟัง พูด อ่าน และเขียนมากขึ้น