เรื่องที่ศึกษา รายงานผลการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ผู้ศึกษา นางนันทวรรณ อ่วมเกตุ
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี (สังวรจันทสรราษฎรวิทยา) สังกัดเทศบาลเมือง
กระทุ่มแบน อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้ เป็นการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/3 โรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี (สังวรจันทสรราษฎรวิทยา) สังกัดเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คนโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นกลุ่ม (Custer Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำจำนวน 5คน นวัตกรรมที่ใช้คือ แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 4 เล่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1) แบบประเมินคุณภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ความรู้การอ่านและเขียนคำควบกล้ำก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านและเขียนคำควบกล้ำ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน และเขียนคำควบกล้ำ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าร้อยละ ( Percentage) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D) สถิติที่ใช้ในการเปรียบเทียบ t - dependent
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีประสิทธิภาพ (E1/E2) มีค่าเท่ากับ 84.75/87.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่าคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะพัฒนาการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 2.70 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) อยู่ระหว่าง .25 - .57