รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวการันต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อพัฒนาแบบฝึก
เสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวการันต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มี
ตัวการันต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 3. เพื่อศึกษาความ
พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มี
ตัวการันต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างของการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบ้านห้วยเดื่อ
อำเภอน้ำปาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 จำนวน 4 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง ( Purposive Sampling ) ดำเนินการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน
และการเขียนคำที่มีตัวการันต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ใช้ระยะเวลาในการจัดการเรียนรู้ 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการ
เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวการันต์ จำนวน 4 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน
ที่มีต่อการเรียนภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวการันต์ จำนวน 10 ข้อ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D.) ค่าการทดสอบแบบที ( t-test ) และค่าประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวการันต์ ด้านกระบวนการและด้านผลลัพท์ ( E1/E2 ) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
ผลการศึกษา พบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวการันต์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้านกระบวนการและด้านผลลัพธ์
( E1/E2 ) เท่ากับ 85.63/83.75 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวการันต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและ
การเขียนคำที่มีตัวการันต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ระดับความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.60 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53