ชื่อเรื่อง การพัฒนาการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง โดยใช้กล่องไม้พอเพียง
วิชาเสริมทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้วิจัย นางอรชร โคตพันธ์
โรงเรียน ไพรบึงวิทยาคม อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2558 - 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง โดยใช้กล่องไม้พอเพียง วิชาเสริมทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนาการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง โดยใช้กล่องไม้พอเพียง วิชาเสริมทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง โดยใช้กล่องไม้พอเพียง วิชาเสริมทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการพัฒนาการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง โดยใช้กล่องไม้พอเพียง วิชาเสริมทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง โดยใช้กล่องไม้พอเพียง วิชาเสริมทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง โดยใช้กล่องไม้พอเพียง วิชาเสริมทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ขั้นตอนที่ 3 การทดลองการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง โดยใช้กล่องไม้พอเพียง วิชาเสริมทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ขั้นตอนที่ 4 การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยการพัฒนาการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง โดยใช้กล่องไม้พอเพียง วิชาเสริมทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 41 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย 1)แบบสอบถาม 2)กล่องไม้พอเพียง 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 13 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยาก .38 - .94 ค่าอำนาจจำแนก .30 - .67 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .91 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก .16 - .68 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และสถิติทดสอบ t-test แบบ dependent samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลจากการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอนวิชาเสริมทักษะคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมปฏิบัติอยู่ในระดับดี ปัญหาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เป็นปัญหาของครู โดยภาพรวม มีปัญหามาก ได้แก่ ครูขาดนวัตกรรมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ ครูขาดการพัฒนาเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใหม่ๆ ปัญหาที่เกิดจากนักเรียน โดยภาพรวมมีปัญหาในระดับมาก ได้แก่ นักเรียนมีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ต่ำ และความต้องการของครูผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือครูต้องการพัฒนานวัตกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทันสมัย ต้องการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในหัวข้อใหม่ๆ อย่างหลากหลาย โดยเน้นให้สามารถนำไปใช้ได้จริง และต้องการสื่อ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นรูปธรรม เหมาะสมและเพียงพอ ปัญหาในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ได้แก่ ครูสอนจริงจัง ไม่ใช้สื่อในการสอน ทำให้เครียด ครูเข้มงวดทำให้บรรยากาศในการเรียนเครียด ไม่อยากเรียน นักเรียนได้เสนอความต้องการที่จะเรียนวิชาคณิตศาสตร์อย่างมีความสุข โดยให้ครูจัดหาสื่อการสอนที่หลากหลาย
2. ประสิทธิภาพของการพัฒนาการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง โดยใช้กล่องไม้พอเพียง วิชาเสริมทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.70/81.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้คือ 75/75
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง โดยใช้กล่องไม้พอเพียง วิชาเสริมทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า หลังเรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนด้วยการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง โดยใช้กล่องไม้พอเพียง วิชาเสริมทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27