ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์
ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้รายงาน นางวนธินี อินทะเกิด
โรงเรียน โรงเรียนวัดธรรมเกษตร (เกษตรานุเคราะห์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดธรรมเกษตร (เกษตรานุเคราะห์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 16 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 15 แผน 2) แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 เล่ม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 1 ฉบับ 30 ข้อ มีค่าความยาก (p) รายข้อตั้งแต่ 0.37-0.70 มีค่าอำนาจจำแนก (B) รายข้อตั้งแต่ 0.32-0.73 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.88 4) แบบทดสอบวัดความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เป็นแบบอัตนัยจำนวน 1 ฉบับ 5 ข้อ มีค่าความยาก (P) รายข้อตั้งแต่ 0.42-0.48 มีค่าอำนาจจำแนก (D) รายข้อตั้งแต่ 0.42-0.53 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 และ 5) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบประเมินชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ มีค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟ่า () 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าสถิติที (t-test) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเปรียบเทียบความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
1) แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.59/81.46 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 ที่กำหนดไว้ สรุปได้ว่า แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพสูง สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่าก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย( ) เท่ากับ 12.44 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 2.90 หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย( ) เท่ากับ 24.44 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 1.97 จึงสรุปได้ว่า คะแนนเฉลี่ยของการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่าก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 26.25 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 3.77 หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 42.13 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 4.26 จึงสรุปได้ว่า คะแนนเฉลี่ยของการทดสอบหลังเรียน สูงกว่า การทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีความพึงพอใจโดยเฉลี่ยในระดับ ( ) เท่ากับ 4.57 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.15