ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับโครงงาน
สุขศึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้รายงาน นางวนิดา จันมณี
ปีการศึกษา พ.ศ. 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับโครงงานสุขศึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับโครงงานสุขศึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับโครงงานสุขศึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับโครงงานสุขศึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนครบุรี จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความสอดคล้องของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที แบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ปัญหาที่พบในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้
สุขศึกษาและพลศึกษาพบว่านักเรียนขาดความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม ขาดทักษะในการประยุกต์ความรู้มาใช้ป้องกันและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในทุกโอกาส ครูผู้สอนจึงนำรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับโครงงานสุขศึกษา มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้จากปัญหาที่เกิดขึ้นจริง นักเรียนได้ร่วมกันคิดวิธีการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อย่างเป็นระบบตามขั้นตอนของโครงงานทำให้นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาได้ดีขึ้น
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้มีชื่อว่า 6S Model ได้พัฒนาขึ้นโดยมีกระบวนการ
จัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน คือ ขั้นศึกษาเรียนรู้ปัญหา (Studying) ขั้นวิเคราะห์เลือกปัญหา (Selecting) ขั้นดำเนินการ (Starting) ขั้นสังเคราะห์ข้อมูล (synthesizing) ขั้นนำเสนอโครงงาน (Submitting) ขั้นประเมินผลการเรียนรู้ (summarizing) ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เท่ากับ 84.44/87.60 เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฎว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
3. ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้านผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาที่สอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับโครงงานสุขศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 โดยความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้
โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับโครงงานสุขศึกษา พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยนักเรียนพึงพอใจต่อการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด เพราะผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และแสวงหาข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย ผู้เรียนเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงด้วยตนเองและร่วมเรียนรู้กับผู้อื่น นักเรียนสามารถสรุปความรู้เชื่อมโยงไปใช้ในชีวิตประจำวันได้