ชื่อเรื่อง รายงานการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์
เพื่อพัฒนาความพร้อมทางภาษา สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2
ผู้ศึกษา นางนงเยาว์ คำโส
ปีที่พิมพ์ พ.ศ.2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนา
ความพร้อมทางภาษา สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาความพร้อมทางภาษา สำหรับเด็กชั้นอนุบาล
ปีที่ 2 3) เปรียบเทียบพัฒนาการทางการเรียนก่อนและ หลังจัดประสบการณ์ สำหรับเด็กชั้นอนุบาล
ปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาความพร้อมทางภาษาสำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหัวสะพาน อำเภอห้วยแถลง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2558 จำนวน 12 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)เครื่องมือที่ใช้
ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือหนังสือเสริมประสบการณ์ สำหรับชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 10 เล่ม แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ จำนวน 30 แผน แบบทดสอบวัด
ความพร้อมการฟังและการพูด จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย
ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples)
ผลการศึกษาพบว่า
1. หนังสือหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาความพร้อมทางภาษา สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่จัดทำขึ้น โดยรวมมีประสิทธิภาพ 83.47/90.42 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80 / 80
2. ดัชนีประสิทธิผลของหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาความพร้อมทางภาษา สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.8099 ซึ่งหมายความว่า หนังสือเสริมประสบการณ์ นี้ทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 80.99
3. การเปรียบเทียบพัฒนาการทางการเรียนก่อนและหลังจัดประสบการณ์ของนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาความพร้อมทางภาษา สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 พบว่านักเรียนมีพัฒนาการทางภาษาเพิ่มขึ้นจากก่อนจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01